วัดครอบครัวศักดิ์สิทธิ์  บ้านหมันขาว

 อ.ด่านซ้าย  จ.เลย  186 ถ.วจี  อ.หล่มสัก  จ.เพชรบูรณ์  67000  โทร. 042-811794

 

ปัจจุบัน : เจ้าอาวาส : คุณพ่อโดเมนิโก โรดิกิเอโร, O.M.I.

แผนที่

วัดมารีย์นำไมตรี เชียงคาน

 

23  หมู่ 2  ถ.เชียงคาน  ต.เชียงคาน  อ.เชียงคาน  จ.เลย

(ตู้  ป.ณ.  15)  อ.  เชียงคาน  จ.  เลย  42110  โทร.  042 851437

ในปี ค.ศ.1984มีพระสงฆ์มาดูแลศูนย์อพยพที่บ้านวินัย อ.ปากชม จึงได้มาประจำที่ อ.เชียงคาน 

ครั้งแรกได้มาอยู่ที่บ้านหลังเล็กๆในซอย 16เป็นเวลา 2 ปี แล้วได้อพยพมาอาศัยบ้านที่ใหญ่กว่า และได้รวบรวมเยาวชนที่เป็นชาวพุทธ ในเวลาเดียวกันมีคริสตชนบางคนที่ทำงานที่ศูนย์อพยพ เคยมาร่วมพิธีทางศาสนาที่บ้านคุณพ่อ ในปีค.ศ.1990 เพื่อให้เยาวชนสะดวกในการมาประชุมกันที่ศูนย์สหสัมพันธ์จึงได้ก่อสร้างวัดเล็กๆ ข้างศูนย์ฯ วัดไม่ใหญ่โตนักเป็นสภาพบ้านธรรมดาได้ให้มารดามารีย์เป็นองค์อุปถัมภ์เพราะส่วนมากมีแต่ชาวพุทธ ส่วนคริสตัง กลับบ้านหมดเพราะปัจจุบันศูนย์วินัยได้ปิดลงแล้ว ตั้งแต่ปี 1992

ปัจจุบัน เจ้าอาวาส : คุณพ่อแฟรงคลิน มีราซอล, O.M.I.

 

วัดพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

 

ถ.เลย เชียงคาน ต.กุดป่อง อ.เชียงคาน จ.เลย 42000

ตู้ป.ณ.15 อ.เมือง จ.เลย 42000 โทร. (042)811794

[เจ้าอาวาสปัจจุบัน : คุณพ่อเปโตร วัยพรต พุฒสา, O.M.I.]

คุณพ่อแฮรี่ ทีล, CssR.

คุณพ่อแฮรี่ มาถึงท่าบม เพื่อรับหน้าที่เจ้าวัด เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 1964 วันรุ่งขึ้นท่านก็ไปที่เมืองเลย เพื่อจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเริ่มแรกมีผู้ถวายที่ดินจำนวน 16 ไร่ พร้อมกับบ่อน้ำให้ที่บริเวณหนองผักก้ามซึ่งได้นำมาใช้ในการสร้างบ้านพักคุณพ่อและวัด (อยู่ระหว่างเส้นทางไปสู่อำเภอเชียงคาน) ท่านยังได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินอีกหลังหนึ่ง คือ บ้านเลขที่ 12 ถนนมะลิวัลย์ ซึ่งต่อมาในเดือนสิงหาคม 1964 ได้ใช้เป็นบ้านของคุณพ่อเจ้าวัด ทรัพย์สินต่างๆ ตลอดจนบ้านและวัดได้ใช้ทุนทรัพย์ของทางสังฆมณฑลส่วนหนึ่ง และ

อีกส่วนหนึ่งจากความอุตสาหะของคุณพ่อแฮรี่ เมื่อบ้านพักเลขที่ 12 ถนนมะลิวัลย์ เสร็จสมบูรณ์ดีแล้ว คุณพ่อแฮรี่ ได้ปรึกษากับ พระสังฆราชดูฮาร์ท ได้เสนอให้ท่านส่งพระสงฆ์มาประจำในฐานะคุณพ่อเจ้าวัด ซึ่งพระคุณเจ้าก็เห็นดีด้วย

 

 

คุณพ่อเรย์เบรนแนนCssR.

คุณพ่อเรย์ มาถึงเมืองเลยเพื่อรับหน้าที่เจ้าวัดต่อจากคุณพ่อแฮรี่ ทีล ในวันที่ 10 ธันวาคม 1965 ต่อมา คุณพ่อแฮรี่ ทีลไปแพร่ธรรมกับชาวเขาเผ่ามัง ซึ่งอาศัยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกคุณพ่อเรย์ เป็นเจ้าวัดอยู่ที่เมืองเลยตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 1965 ถึง 21 มีนาคม 1966 ในเวลานั้นมีครูคำสอน 7 คน อยู่ภายใต้การดูแลของท่านได้ร่วมกันแพร่ธรรมไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในช่วงนี้คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปแก่ชาวบ้านราวร้อยคน และ ทางกิจการด้านอื่นๆ ก็มิได้ละเลย

            คุณพ่อเรย์เบรนแนน ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ หลายโครงการเช่น โรงงานทอผ้าไหม ฟาร์มไก่ขนาดประมาณห้าพันตัว ปลูกสร้างอาคารสำหรับทอไหม ปลูกหม่อน ส่งผู้ดูแลโครงการไปรับการอบรมเพื่อกลับมาดูแลโครงการนี้ แต่ในที่สุดโครงการต่างๆ เหล่านี้ก็ประสบความล้มเหลว รวมทั้งผู้รับศีลล้างบาปใหม่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในชะตากรรมเดียวกันนี้ด้วย คือมีน้อยคนนักที่จะยังคงถือสัตย์ซื่อต่อศีลล้างบาปที่ตนได้รับ

คุณพ่อแฮรี่ ทีลCssR

ในเดือนมีนาคม 1969 คุณพ่อแฮรี่ ได้กลับมาเป็นเจ้าวัด แทนคุณพ่อเรย์ ในการกลับมาครั้งนี้ ท่านได้อพยพชาวเขาเผ่ามังที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเจริญชีวิตที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ซึ่งคุณพ่อ

เคยทำงานอยู่ก่อนมาด้วยจำนวน 18 ครอบครัว จากจุดนี้เองจึงทำให้มีชาวมังอาศัยอยู่ในจังหวัดเลยเรื่อยมา

คุณพ่อแฮรี่ได้เปลี่ยนโรงงานทอผ้าไหมเป็นโรงเรียนขนาด 4 ห้องเรียน และได้ใช้เวลาในช่วงเดือนสุดท้ายในสมัยของท่านช่วยครอบครัวชาวมังให้เริ่มการทำไร่ทำนาในพื้นที่บริเวณรอบๆ โรงเรียนและวัด

คุณพ่อฟรังซิส โกโตรCssR.

คุณพ่อโกโตร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่เมืองเลยในเดือนธันวาคมปี 1969 สมัยนี้ท่านได้เห็นการปิดตัวลงของโครงการต่างๆ ยกเว้นโรงเรียนซึ่งเจริญขึ้นเป็นลำดับต่อมาคุณพ่อโกโตร ได้เชิญซิสเตอร์จากท่าแร่มาดูแลซิสเตอร์มาถึงเมืองเลย ในวันที่ 13 พฤษภาคม 1971 ซึ่งเวลานั้นมีนักเรียนประมาณ 200 คน

เกี่ยวกับชื่อของวัดนั้น แต่เดิมใช้ชื่อ วัดนักบุญอันเดรียนและ ดูเหมือนจะได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่ในสมัยนี้โดยดูจากทะเบียนผู้รับศีลล้างบาป พบบันทึกชื่อเดิมของวัดถึงวันที่ 18 ตุลาคม 1980 และตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 1971 เป็นต้นมา ชื่อวัดได้รับการเปลี่ยนใหม่เป็น วัดพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล

 

คุณพ่อไพโรจน์ สมงาม CssR.

คุณพ่อไพโรจน์ สมงาม เดินทางมาถึงเมืองเลยเพื่อรับตำแหน่งเจ้าวัดในวันที่ 13 กันยายน 1971 เวลานั้นโรงเรียนเจริญขึ้นจนสามารถเพิ่งตนเองได้ด้วยจำนวนนัดเรียนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง การได้บ้านหลังใหม่ก็อยู่ในสมัยของท่านซึ่งตอนนั้นยังสร้างไม่เสร็จ ตั้งอยู่ใกล้ๆโรงเรียน คุณพ่อไพโรจน์ได้สร้างต่อจนเสร็จโดยอาศัยความช่วยเหลืออันเข้มแข็งของ องสิงห์ ซึ่งพร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือคุณพ่อเจ้าวัด.คุณพ่อเจ้าวัดได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังใหม่ในช่วงปีสุดท้ายในสมัยของท่าน และบ้านหลังนี้ได้กลายเป็นบ้านของคุณพ่อเจ้าวัดตั้งแต่นั้นเรื่อยมา

จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งอีกสิบปีต่อมา ครูแจ้ง บิดาของคุณพ่อไพโรจน์ ได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ในช่วงที่กำลังรับการศึกษาอบรมเพื่อเตรียมบวชเป็นสังฆานุกรตลอดชีพกลุ่มชาวมังก็ยังคงอยู่ที่นี่ โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งกำลังเรียนหนังสืออยู่ แต่ทว่าผู้ใหญ่ที่รับศีลล้างบาปแล้วนั้นมีลดจำนวนลง

คุณพ่อไมเคิลเชCssR.

คุณพ่อไมเคิลเช มารับหน้าที่เจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อไพโรจน์ในเดือนสิงหาคม 1976 ซึ่งในขณะเดียวกันก็ดูแลรับผิดชอบวัดที่บ้านท่าบ่มด้วยในสมัยของคุณพ่อเช นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายมากด้วยว่ามีปัญหาใหญ่ๆ สองประการที่ทำให้งานของท่านยุ่งยากเหลือเกิน  คือ

1. ปัญหาเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นในพื้นที่แถบนี้ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาวได้สำเร็จ

2. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาวทำให้มีผู้อพยพจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวมังในลาวทะลักเข้ามาจนทำให้ต้องเปิดศูนย์อพยพขึ้นที่บ้านวินัย อำเภอเชียงคาน

การให้ความช่วยเหลือผู้อพยพเรือนหมื่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโครงการโคเออร์ โครงการนี้เพิ่งจะเริ่มปลายปี 1979 ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ คุณพ่อแลนด์ ได้เข้ามาทำหน้าที่พ่อเจ้าวัดแทนคุณพ่อเช นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ คณะธรรมทูตแห่งมาลีนิรมลเข้ามารับหน้าที่ต่อจากคณะพระมหาไถ่ในจังหวัดเลย

คุณพ่อแชล แลนด์ OMI.

คุณพ่อแลนด์มาถึงเมืองเลยในวันที่ 11 เมษายน1979 เพื่อฉลองสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ท่านได้ทำงานอย่างเข้มแข็ง ได้ปรับปรุงบ้านพักของคุณพ่อเจ้าวัด และปลูกต้นไม้จำนวนมาก ในสมัยของท่านได้แบ่งแยกงาน

การดูแลรับผิดชอบระหว่างวัดกับโรงเรียนออกจากกัน อย่างชัดเจนโดยให้ซิสเตอร์เป็นผู้ดูแลโรงเรียนในฐานะเจ้าของ และ ผู้จัดการ ต่อมาคุณพ่อแลนด์ได้สร้างวัดหลังเล็กๆ ในปี 1981 ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลายปีทีเดียวที่ต้องใช้วัดน้อยในบ้านซิสเตอร์เป็นที่ถวายมิสซาสำหรับสัตบุรุษ วัดหลังใหม่ที่คุณพ่อสร้างขึ้นอยู่ข้างๆ บ้านพักพ่อเจ้าวัด มีขนาดพอเหมาะกับจำนวนสัตบุรุษ และเครื่องตกแต่งวัดทั้งหมดได้สร้างขึ้นด้วยพระพรทางงานศิลปะของคุณพ่อ แลนด์ นอกจากนั้นเวลาอีกส่วนหนึ่งของคุณพ่อได้ถูกใช้ไปในการดูแลอภิบาลชาวอพยพที่ บ้านวินัย ซึ่งมีจำนวนมากถึงประมาณ 50,000 คน

คุณพ่อบรูโน อาเร็นส์OMI.

คุณพ่อบรูโน มาถึงเมืองเลยในเดือนพฤษภาคม 1983 ในทันทีภายหลังจากคุณพ่อแลนด์ล้มป่วยหนักและถูกส่งไปรักษาตัวที่ยุโรปเมื่อหายป่วยแล้ว คุณพ่อแลนด์ได้กลับมาพักอยู่กลับคุณพ่อบรูโนระยะหนึ่งก่อนที่คุณพ่อแลนด์จะขยับขยายไปแพร่ธรรมที่ อ. เชียงคาน ซึ่งเป็นการขยายงานแพร่ธรรมในจังหวัดเลย

คุณพ่อปีแอร์เชอวรูเลท์OMI.

คุณพ่อปีแอร์เชอวรูเลท์ เคยเป็นมิชชันนารีแพร่ธรรมอยู่วนลาวมาก่อนเช่นเดียวกับคุณพ่อแลนด์ ซึ่งได้มาประจำที่จังหวัดเลยอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ยังมี คุณพ่อเปรอนฟรังซัวOMI. อีกท่านหนึ่งที่ได้มาทำงานแพร่ธรรมที่จังหวัดเลยตั้งแต่เดือนเมษายน 1987 โดยเป็นคุณพ่อเจ้าวัดประจำอยู่ที่บ้านท่าบ่ม ซึ่งท่านยังจะทำงานอยู่ที่นี่ต่อไปโดยหวังว่า จะสามารถเพิ่มจำนวนคริสตชนให้มีมากขึ้นในจังหวัดเลย

คุณพ่อคริสเตียน ยีลส์OMI.

คุณพ่อยีลส์ ได้เดินทางมารับหน้าที่เจ้าวัดต่อจากคุณพ่อเชอวรูเลท์ ในเดือนตุลาคม 1991 นอกจากดูแลสัตบุรุษอย่างเข้มแข็งในเขตวัดแล้วท่านยังไปเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนที่ท่าลี่ ภูหลวง และ ภูกระดึงอย่างสม่ำเสมออีกด้วย


สรุป

หลัง จาก 25 ปี ของงานแพร่ธรรมในจังหวัดเลย กิจการที่มองเห็นได้อย่างเด่นชัดโดยไม่มีข้อสงสัยเลยก็คือ โรงเรียน เป็นโรงเรียนประถมโดยมีแผนกอนุบาลรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันมีนักเรียนเกือบพันคน ทั้งหญิงและชายโดยมีนักเรียนที่เป็นคาทอลิกเพียง 12 คน และที่กำลังเรียนคำสอนอยู่อีกราว 20 คน จำนวนคริสตังทั้งหมดประมาณ 70 คน มีเพียงไม่กี่ครอบครัวที่เป็นชาวเลยโดยกำเนิด นอกนั้นบ้างก็มาจากท่าบม บ้างก็มาจากอุดรฯ หรือไม่ก็กรุงเทพฯ เพื่อที่จะสามารถเห็นอนาคตที่สดใสของพระศาสนจักรในจังหวัดเลยเราจะต้องเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีอย่างมากทีเดียว อย่างไรก็ตาม ตัวเมืองที่กำลังขยายอย่างรวดเร็วซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการปกครองและเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้ ก็ได้สร้างความหวังต่อการขยายตัวของกลุ่มคริสตังที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนี้ เช่นกัน

แผนที่

1.วัดอัครเทวดาราฟาแอล ท่าบม

2.ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าบม ต. เขาแก้ว อ. เชียงคาน จ. เลย 42110

ขนาดพื้นที่: 3 rai (6 rai including the school area)

3.ประวัติ

   3.1 ความเป็นมา

บ้านท่าบมเป็นหมู่บ้านคริสตังเพียงแห่งเดียวในเขตจังหวัดเลย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ   45 กิโลเมตรตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ปัจจุบันมีประชากรประมาณ1,500 คน เป็นคริสต์ตัง(คาทอลิก) 210ครอบครัวและพุทธ130    ครอบครัว  บ้านท่าบมตั้งมาแล้วประมาณ   120 ปีหลังจากตั้งหมู่บ้านได้ประมาณ20 ปี ศาสนาคริสต์ก็เข้ามามีบทบาท โดยในช่วงนั้นมีครูคำสอนที่เป็นชาวเวียงคุก อยู่ที่บ้านนาค้อ อำเภอปากชม จังหวัดเลยได้ทราบข่าวว่าเกิดเรื่องไม่สงบขึ้นที่บ้านท่าบม คือมีเด็กเล็กๆ หลายคนตายชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเรื่องผี และกำลังแสวงหาที่พึ่งท่านจึงรีบมาดูแลเหตุการณ์ และได้พาชาวบ้าน คนไปเรียนคำสอนกับท่านที่ตำบลเวียงคุกอำเภอเมืองจ.หนองคายเมื่อชาวบ้านทั้4กลับมาก็มีพระสงฆ์ติดตามมาด้วย คือคุณพ่อฟีแนน  ยังเตคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส)MEP)ตอนนั้นยังไม่มีวัดคุณพ่อได้ใช้บ้านของพ่อเฒ่าอินเป็นที่ถวายมิสซา และพักอาศัย และคุณพ่อฟีแนน ยังเต นำไม้กางเขนไปปักไว้ที่ก้อนหินใหญ่ที่ชาวบ้านแต่เดิมเชื่อว่ามีผีสิง หลังจากนั้นความสงบสุขก็เริ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ชาวบ้านเองก็เริ่มเลื่อมใสศรัทธราศาสนาคริสต์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เมื่อก่อนมีเพียง 5-6 ครอบครัว ได้กลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านไปนั้นมีผู้คนจากหมู่บ้านที่ห่างไกลอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่เรื่อย ๆ หมู่บ้านนี้จึงเริ่มขยายกว้างออกไปในระยะนั้นมี 20 หลังคาเรือนที่สมัครเข้าเป็นคริสต์ตังครูคำสอนคนแรกของหมู่บ้าน คือ ครูทวง เป็นชาวเวียงคุกต่อมาจึงมีครูคำสอนที่เป็นชาวบ้านท่าบมเอง คือ ครูดวง , ครูโสม, ครูตัน, ครูฤทธิ์, ครูบิน,ครูสุภาพ,ครูพิทยาและครูสุนันท์ส่วนปัจจุบันมีครูนงคราญและครูอาสาอดิศักดิ์
          
ต่อจากคุณพ่อฟีแนน ยังเต  มีพระสงฆ์ทยอยกันมาประจำที่หมู่บ้านนี้ เช่นคุณพ่อตีโบ (MEP) คุณพ่ออันโตนิโอ (MEP)คุณพ่ออัลแบร์ (MEP)และคุณพ่อคำเขียนเป็นคนที่ย้ายวัดจากบ้านของพ่อเฒ่าอินมาประจำอยู่ที่ศาลาประชาคม คุณพ่อคำเขียนมรณะที่นี่ ประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  (สงครามอินโดจีน)นับได้ราว 40 ปี ที่ศาสนาคริสต์เข้ามาในหมู่บ้าน สงครามโลกครั้งที่    2    จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกปี พ.. 2483 ศาสนาคริสต์ถูกเบียดเบียนข่มเหงมาก ทางราชการได้ส่งปลัดมาดและพรรคพวกมาบังคับให้ชาวบ้านทุกคนเลิกนับถือศาสนาคริสต์นอกจากนั้นยังทำลายรูปเคารพต่าง ๆ และท้ายสุดได้ปิดวัดคริสต์ทำเป็นโรงเรียนของรัฐบาล นำศาสนาพุทธเข้ามาเวลานั้นไม่มีพระสงฆ์ประจำอยู่ที่ท่าบมเลยความระส่ำระสายเริ่มขึ้นเมื่อรูปถูกทำลาย พระสงฆ์ก็ไม่มี วัดถูกเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นโรงเรียนชาวบ้านถูกบังคับและขู่เข็ญให้เข้าศาสนาพุทธ และกราบไหว้พระพุทธรูปแต่ถึงแม้พวกเขาจะถูกขู่เข็ญต่าง ๆ นานา แต่ความเชื่อและความศรัทธาภายในจิตใจของชาวบ้านยังมั่งคงอยู่และแข็งแกร่งอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านได้แต่สวดภาวนากันในใจเพราะถ้าหากว่าสวดภาวนากันอย่างเปิดเผยเมื่อใดก็จะถูกเจ้าหน้าที่จับเมื่อนั้นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น คือ นายสั้น เวลาไปประชุมที่อำเภอจะถูกเจ้าหน้าที่สอบถามเสมอสวดภาวนากันอยู่หรือเปล่า ท่านตอบว่าเลิกสวดแล้วถ้าไม่เชื่อก็ไปดูเอาเอง เจ้าหน้าที่ก็เชื่อตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้าน มีผู้เล่าในช่วงนั้นมีสิงห์สาราสัตว์มีงูใหญ่มากมาเข้ามรบกวนชาวบ้านทุกวัน บางครั้งก็เข้ามาพักพิงนอนในบ้านด้วยหลังจากที่ถูกเบียดเบียนอยู่ประมาณ   8   ปีคุณพ่อคาร  โสรินทร์จากมิสซังท่าแร่ เป็นคนแรกที่เข้ามาประจำที่นี่ (ปี .. 1950)       วันแรกที่ท่านมาถึงนั้นท่านแต่งตัวแบบทหารซ้ำยังขู่ชาวบ้านว่า ยังนับถือศาสนาคริสต์อยู่หรือเปล่า ชาวบ้านตกใจกลัวกันมาก แต่วันต่อมาเห็นสายประคำอยู่กับตัวท่านจึงพากันดีใจ คนที่ทิ้งศาสนาไปแล้วก็กลับมาอีก ที่ไม่กลับมาก็มีบ้าง ท่านทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อ และศรัทธราต่อศาสนาคริสต์มากยิ่งขึ้น ท่านอยู่บ้านท่าบมไม่นานก็กลับไปท่าแร่ดังเดิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ (CssR.) ที่มาดูแลวัดที่บ้านท่าบมคือคุณพ่อเคน(ปีค.. 1951) 
         
ในสมัยของคุณพ่อเคน ท่านมาทำมิสซา 5-6 เดือนต่อครั้งเท่านั้น และพักอยู่กับชาวบ้านราว1-2 สัปดาห์แล้วจึงกลับไป ท่านทำเช่นนี้อยู่เป็นเวลาปี เวลาทำมิสซาก็ใช้ศาลากลางบ้านส่วนที่พักก็ใช้บ้านของพ่อเฒ่าล้วนหลังจากนั้น   คุณพ่อคลาเรนต์ดูฮาร์ด(ปี ค.. 1954) ได้เข้ามาอยู่ประจำท่านได้สร้างวัดให้แก่ชาวบ้านท่าบม และได้ตั้งชื่อว่าวัดราฟาแอล    สิ่งนี้นำความยินดีมาสู่ชาวบ้านท่าบมเป็นอย่างยิ่งศาสนาคริสต์

จึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างบ้านพักพระสงฆ์ไว้หลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนหลังปัจจุบันต่อมามีพระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ประจำ เช่นคุณพ่อมอริสี (ปี ค.. 1958)คุณพ่อวีรพงษ์วัชราทิตย์  และคุณพ่อแฮรี่  ทีล  (ปี ค.. 1964) ท่านได้สร้างโรงเรียนหลังปัจจุบันนี้ขึ้น ชื่อว่าโรงเรียนมารดาพิทักษ์วิทยา  นายสมัย  วงศ์อนันต์  เป็นผู้จัดการและครูใหญ่  วัตถุประสงค์ เพื่ออบรมลูกหลานชาวคริสตังทั้งหลาย

ในสมัยของคุณพ่อแฮรี่  ทีล  ได้นำชาวบ้านเดินสวดภาวนาตามถนนรอบวัดในช่วงเทศกาลปัสกา เพื่อระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า นอกจากนั้นท่านยังได้ตั้งกลุ่มคณะพลมารีขึ้นอีกด้วยเมื่อคุณพ่อแฮรี่ย้ายไปคุณพ่อโทนี่ก็มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน (ปี ค.. 1996) ท่านได้พัฒนาด้านการศึกษาให้ดีขึ้น โดยเพิ่มเติมอุปกรณ์การเรียนการสอน การกีฬา ตลอดจนพัฒนาบริเวณสถานที่ให้กว้างใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และยังได้จัดตั้งกรรมการสภาวัดขึ้นเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มโรงสีแต่ก็ต้องล้มเลิกไป เพราะชาวบ้านทำไร่ทำนาไม่มีเวลามาดูแล ต่อมาก็ตั้งกลุ่มเลี้ยงวัว ซึ่งดำเนินกิจการมาถึงปัจจุบัน และได้จัดตั้งกลุ่มธนาคารข้าวนอกจากนี้ท่านยังได้นำไม้กางเขนไปปักไว้บนภูน้อย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน ในช่วงเทศกาลปัสกาด้วย
              
พระสงฆ์องค์ต่อมา คือคุณพ่อมิลเลอร์(ปี ค.. 1979) ท่านได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังปัจจุบันขึ้น ยังได้ดูแลกิจการต่าง ๆของโรงเรียน และวัดเป็นอย่างดีตลอดมา ต่อจากนั้นเป็นพระสงฆ์ไทยคณะพระมหาไถ่ คือ คุณพ่อไพโรจน์  สมงาม(ปี ค..1974) ท่านได้สร้างหอระฆังวัดเพิ่มเติมอีกทั้งดูแลกิจการของโรงเรียนและวัดให้เจริญยิ่งขึ้น ประเพณีการไปสวดที่ภูน้อยก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม เมื่อท่านย้ายไปก็มีคุณพ่อไมเกิ้ล  เช มาดำรงตำแหน่งแทนในสมัยคุณพ่อเช (ปี ค.. 1976)  เป็นช่วงที่สาธารณรัประชาธิปไตยประชาชนลาว ถูกเวียดนามยึดครองชาวลาวได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงเกิดมีศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวลาวขึ้นตามแนวชายแดนไทย และที่อำเภอปากชม จังหวัดเลยที่แห่งนี้ ชื่อว่าบ้านวินัย ซึ่งในจำนวนนี้มีคาทอลิกอยู่ด้วยเมื่อคุณพ่อเชทราบท่านได้ไปเยี่ยมและทำมิสซาที่นั่นอาทิตย์ละครั้งเนื่องจากคนกลับใจเข้าศาสนามีมากวัดหลังเก่าไม่เพียงพอที่จะรับคนได้ทั้งหมด คุณพ่อจึงสร้างวัดหลังใหม่ให้ชาวบ้าน

ดังที่เราเห็นตั้งโดดเด่นสง่างามอยู่ในปัจจุบันนี้.

3.2 หตูการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้ทำร่วมกันคือการเดินรูป14ภาคขึ้นบนภูน้อยในช่วงเทศกาลมหาพรตและมีการแห่ดาวรอบหมู่บ้านวันที่24ธันวาคมของทุกปี และมีการประดับดาวตามบ้านช่วงเทศกาลคริสมาสอย่างสวยงามและยังมีการสวดภาวนาขอฝนที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำมีในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมเพื่อขอฝนให้ได้มีน้ำในการทำเกษตกรรม และ ในเดือนตุลาคม ของทุกปีก้จะมีการสวดสายประคำตามหมู่บ้านหรือตามคุ้มต่างๆ และในเดือน พฤษจิกายน ก็ได้มีการทำมิสซาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับที่ ป่าศักดิ์สิทธิ์

    3.3 ลำดับเจ้าอาวาส

1.               คุณพ่อ ฟีแนน ยังเต

2.               คุณพ่อ ตีโบ

3.               คุณพ่อ อันโตนิโอ

4.               คุณพ่ออัลแบร์

5.               คุณพ่อ คำเขียน

6.               คุณพ่อคาร โสรินทร์

7.               คุณพ่อ เคน

8.               คุณพ่อ คลาเรนต์ ดูฮาร์ด

9.               คุณพ่อ มอริสี

10.            คุณพ่อ วีรพงษ์

11.            คุณพ่อ แฮร์ ทีล

12.            คุณพ่อ โทนี่

13.            คุณพ่อ มิลเลอร์

14.            คุณพ่อ ไมเกิ้ล เช

15.            คุณพ่อ เช

16.            คุณพ่อ มีแชล แลนด์

17.            คุณพ่อ ฟรังซัวร์ เปรอน

18.             คุณพ่อ บัวทอง

19.             คุณพ่อ ประสิทธิ์ ไกลโหล

20.             คุณพ่อ วิชัย อ้วนเย็นดี

21.             คุณพ่อ บรูโน

22.             คุณพ่อ ปรีชา ธรรมนิยม

23.             คุณพ่อ พลศรี ทองคำ

24.             คุณพ่อ ประสงค์ วงษ์วิบูรณ์สิน

25.             คุณพ่อ รามอน  เอนซินาเรส

26.            คุณพ่อดานีโอ อาโบกาโด, C.M.

 

       3.4 การกำเนิดองค์กรต่างๆคือ สภาวัด พลมารีย์ เยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวินเซนเดอปอนซึ่งตอนนี้ได้ยุบไปแล้ว

       3.5 ลูกวัดที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์

1.               sr. นุจรินทร์ บุดดา  คณะธิดาแม่พระอุปถัมภ์ (ซาเลเซียน)

2.               Sr. กุลธิดา แก้วอุดร  คณะแม่พระอุปถัมภ์ (ซาเลเซียน)

3.               Sr. วัชรา บุดดา  คณะธิดาเมตตาธรรม

4.               Sr. สร้อย มูลถวิลย์  คณะเซนต์ปอล์นเดอะชาร์ต

       3.6 จำนวนสัตบุรุษมีทั้งหมด: 1,500

4. ตารางมิสซา:วันจันทร์-เสาร์ 06:30น. วันอาทิตย์ จะเป็นเวลา 07:00น.

ปัจจุบัน เจ้าอาวาส : คุณพ่อดานีโอ อาโบกาโด, C.M.

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส : คุณพ่อรามอน เอนซีนาเรส, C.M.

แผนที่

1. วัดอัครเทวดามีคาแอล หนองบัวลำภู

168/8 .2 .หนองบัว

.เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000

หรือ ตู้ ปณ.19 .เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000

โทร. 0-4236-0593

เจ้าอาวาส

คุณพ่อฟามดิงห์ ต๋วน, S.V.D.

** ประวัติวัด **

1. วัดอัครเทวดามีคาแอล

2. ที่อยู่ 168/9 หมู่ที่ 2 บ้านเหล่าทอง ต. หนองบัวลำภู อ. เมือง จ. หนองบัวลำภู

     เบอร์โทรศัพท์  090- 816 4372        โทรสาร  042 – 360322

     ขนาดพื้นที่  2 ไร่ 

3. ประวัติวัดอัครเทวดามีคาแอล

3.1 ความเป็นมาจากหลักฐานที่บันทึกไว้ในหนังสือ ( Status Animarum) ของอาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ พระคุณเจ้า คลาเรนซ์ เจ ดูฮาร์ต  ท่านได้เดินทางไปเยี่ยมกลุ่มคริสตชนในเขตอำเภอหนองบัวลำภู มีครอบครัวคาทอลิก เชื้อสายเวียตนาม 8 ครอบครัว และในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1961 พระคุณเจ้าได้โปรดศีลล้างบาป ให้ลูกหลานของชาวเวียตนามที่หนองบัวลำภูจำนวน 4 คน  มีการถวายพิธีบูชาขอบพระคุณ และโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ตามบ้านของสัตบุรุษ

           ในปี 1976 คุณพ่อจอห์น ทาบอร์  ได้มาประจำที่อาสนวิหารฯ อุดรธานี ท่านรับหน้าที่ดูแลกลุ่มคริสตชนที่หนองบัวลำภูแทนพระคุณเจ้าดูฮาร์ต  และก็กลายเป็นธรรมเนียมที่พระสงฆ์จากอาสนวิหารฯ จะเป็นผู้ดูแลสัตบุรุษที่หนองบัวลำภูด้วย  พระสงฆ์ที่เป็นขวัญใจของพวกเขาและถูกกล่าวถึงบ่อยๆ     คือ   พระคุณเจ้าดูฮาร์ต พ่อจอห์น ทาบอร์ พ่อโกแตนท์ พ่อเลโฮแทรวิส พ่อสมพงษ์ เตียวตระกลู และพ่อประสิทธิ์ตรงสหพงศ์

  ต้นปี ค.ศ. 2000 ภราดาเดเมี่ยน ( Bro.DamienLunders,SVD.) คณธรรมทูตแห่งพระวจนาตถ์ของพระเจ้าได้มาประจำที่จังหวัดหนองบัวลำภู ท่านเป็นผู้อำนวยการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ HIVและผู้ป่วยเอดส์  โครงการนี้อยู่ในมูลนิธิบ้านนิจจานุเคราะห์ บราเดอร์ต้องการที่จะสร้างศูนย์อย่างถาวร จึงปรึกษากับเจ้าอาวาสอาสนวิหารฯ เพื่อจะสร้างโบสถ์สำหรับสัตบุรุษ ประมาณกลางปี ค.ศ.2001 ได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองหนองบัวลำภู จึงได้สร้างโบสถ์และบ้านนิจจานุเคราะห์ ในเดือนธันวาคม ค.ศ.2001 การก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 8 เดือน คุณพ่อโทมัสกำจัด เสาะก่าน  ได้ถวายพิธีบูชาขอบพระคุณในโบสถ์หลังใหม่ เป็นครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.2002   โดยมีคณะพลมารีจากอาสนวิหารฯ อุดรฯ สัตบุรุษในเขตหนองบัวลำภู จาก อ. นากลาง อ. ศรีบุญเรือง และ อ.โนนสัง มาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันนั้นด้วย

   ในปี ค.ศ. 2011 – 2015   คุณพ่อแอนโทนี่ เลดึ๊ก ,SVD. เจ้าอาวาสวัดอัครเทวดามีคาแอล สงฆ์คณะพระวจนนาตถ์ของพระเจ้าพร้อมกับสภาภิบาลได้ทำทิศทางแผนอภิบาลที่ตั้งไว้ทั้ 10 แผน เพื่อให้เข้ากับวิถีชุมชนวัด มีคณะสภาภิบาลจำนวน 6 ท่าน และมีบราเดอร์เดเมี่ยน ลันเดอร์ส เป็นที่ปรึกษามีกิจกรรมและโครงการต่างๆมากมายเกิดขึ้น และปัจจุบันมีคุณพ่อ ฟาม ดิงห์ ต๋วน,SVD. เป็นเจ้าอาวาส ได้สานต่อพันธกิจของงานแพร่ธรรม เช่น โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมอบรมสอนคำสอนทุกวันอาทิตย์ เข้ากลุ่มอ่านพระวาจาและแบ่งปันความเชื่อของเยาวชนทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่3  กิจกรรมเยี่ยมผู้สูงอายุ  คนป่วย   คนพิการในชุมชน  กิจศรัทธาสวดสายประคำที่บ้านสัตบุรุษในเดือนตุลาคม  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในพิธีกรรม  จัดกิจกรรมวันแพร่ธรรมสากลเป็นประจำทุกปี  จัดกิจกรรมอธิษฐานภาวนาข้ามปี ภาวนาส่งวิญญาณและเผาศพให้กับผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับศีลล้างบาป และชาวต่างชาติที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู  เป็นล่ามในชั้นศาลและให้กำลังใจแก่ชาวต่างชาติเมื่อเกิดคดีความต่างๆ

      ปัจจุบันจากการสำรวจครอบครัวคาทอลิกของวัดอัครเทวดามีคาแอล มีทั้งหมดประมาณ 30 ครอบครัว  ครอบครัวรายเดี่ยวประมาณ 15 คน  มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เช่น ชาวเวียตนาม ชาวฟิลิปปินส์ ชาวอเมริกา ชาวแอฟริกา ชาวอิตาเลี่ยน ชาวอังกฤษ ชาวฝรั่งเศส และชาวเยอรมัน

3.2 เหตุการณ์สำคัญ

วันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 2002/ 2545  พระสังฆราชยอช์ ยอด พิมพิสาร วางศิลาฤกษ์

-   วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2002/2545  คุณพ่อกำจัด เสาะก่านได้ถวายพิธีบูชาขอบพระคุณในวัดใหม่     เป็นครั้งแรก

 วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.2002/2545 พระสังฆราชยอช์ ยอด พิมพิสาร ทำพีธีฉลองเปิดเสกวัดอัครเทวดามีคาแอล หนองบัวลำภู

-    วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2011/2554  พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย  ได้รับรองว่าวัดอัครเทวดามีคา     แอลหนองบัวลำภูเป็นวัดคาทอลิกอยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของมิสซังโรมันคาทอลิกอุดรธานี

- มีฉลองวัดประจำปี

-  มีฉลองนักบุญแม่เทเรซา แห่งกัลกัตตา เป็นประจำทุกปี

-  มีฉลองและจัดกิจกรรมวันแพร่ธรรมสากล เป็นประจำทุกปี

-  จัดกิจกรรมคริสต์มาสให้กับ เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุเป็นประจำทุกปี

-   จัดกิจกรรมอธิษฐานภาวนาข้ามปี เป็นประจำทุกปีร่วมกับพี่น้องคริสเตียน

-   จัดกิจกรรมส่งเสริมความศรัทธาในเทศกาลมหาพรต และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ให้กับสัตบุรุษ

-    23-24 มิถุนายน 2015/2558 ต้อนรับและเคารพพระธาตุของนักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา      และ นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา

3.3 ลำดับเจ้าอาวาส

1. พระสังฆราช คลาเรนซ์ เจ ดูฮาร์ต ,CSSR.

2.คุณพ่อยอห์น ทาบอร์

3. คุณพ่อปอล พล เนตรธรรม,CSSR.

4. คุณพ่อกำจัด เสาะก่าน

5. คุณพ่อเจอรี่ เดอ เรเยส ,OMI.           

6. คุณพ่อแฟรงคลิน มีราซอล ,OMI.

7. คุณพ่อวัลลพ จำหน่ายผล,CSSR.

8. คุณพ่อประสิทธิ์ กุ๊นุ,CSSR.

9. คุณพ่อแอนโทนี่ เลดึ๊ก ,SVD.

10. คุณพ่อตรึก ก๊อก ฟาน ,S.VD

11. คุณพ่อวีระศักดิ์ สุภาเพิ่ม,CM

12. คุณพ่อสุรินทร์ อยู่สุข

13. คุณพ่อฟาม ดิงห์ ต๋วน ,SVD.

 

3.4 การกำเนิดองค์กรต่างๆในวัด

-   ปีค.ศ. 2000คณะธรรมทูตแห่งพระวจนาตถ์ของพระเจ้า  ( DIVINE WORD MISSIONARIES ) เดินทางมาแพร่ธรรมที่หนองบัวลำภู  ซึ่งดูแลผู้มีเชื้อ HIVและผู้ป่วยเอดส์ หน่วยงานคาทอลิกที่อยู่ในบริเวณวัดประกอบไปด้วย บ้านพักฟื้น Marie Villa

คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม ( MISSIONARIES OF CHARITY ) ดูแลเด็กกำพร้าที่มีเชื้อ HIVมีนักบวชหญิงจำนวน 4 ท่าน ที่ทำงานด้านนี้

- ปี 2010/2553 คณะธรรมทูตแห่งพระวจนาตถ์ของพระเจ้า,SVDได้เปิดบ้านแม่มารีย์ สำหรับเยาวชนที่มีเชื้อ HIV  ซึ่งตั้งอยู่ที่ 68/5 หมู่5 ต.โพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

-  ปี 2011/2554 มีการจัดตั้งกลุ่มสภาภิบาล เพื่อช่วยพระสงฆ์ในงานภิบาลวัด

3.5 ลูกวัดที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์

ยังไม่มี แต่มีผู้ฝึกหัด สามเณรในคณะต่างๆดังนี้

-          คณะซาเลเซียน ชาย 1 คน

-          คณะ OMI. 1 คน

-          คณะสงฆ์พื้นเมือง 1 คน

-          ผู้ฝึกหัดคณะซิสเตอร์ผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ 2 คน

-         

-          3.6 จำนวนสัตบุรุษ

-          คริสตชนในวัดอัครเทวดามีคาแอลหนองบัวลำภู จำนวน  110  คน

-          4. ตารางมิสซา

วันอาทิตย์ เวลา 08.30 น. สำหรับสัตบุรุษ

วันจันทร์ – วันเสาร์  เวลา 07.15 น. สำหรับซิสเตอร์คณะธรรมทูตแห่งเมตตาธรรม,MC.

วันจันทร์ – วันพฤหัสบดี เวลา 17.00 น. สำหรับนักบวชบ้านธรรมทูตแห่งพระวจนาตถ์ของพระเจ้า  ,SVD.

       ปัจจุบัน  คุณพ่อทราน แต๊ะ วินท์, S.V.D. เจ้าอาวาส

แผนที่