1. วัดน.อักแนส บ.ห้วยเซือม
2. ที่อยู่ หมู่ 2 บ.ห้วยเซือมใต้ ต.ชัยพร
อ.เมือง จ.บึงกาฬ
เบอร์ฑทรศัพท์ 0934 161 924
ขนาดพื้นที่ ………………?
3. ประวัติวัด
3.1 ความเป็นมา และ
3.2 เหตุการณ์สำคัญ
แต่เดิมสภาพท้องถิ่นเมื่อแรกเริ่มเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย และบางส่วนเป็นเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านแก่งสะดอก (แต่เดิมเรียกบ้านก๊กม่วง) เป็นธรรมดาของชาวบ้าน เมื่อมีเรือกสวนไร่นา มักจะสร้างบ้านพักไว้เป็นที่อาศัยชั่วคราวในฤดูทำนาและเก็บเกี่ยว แต่ในจำนวนนี้มี 3 ครอบครัวที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่อย่างถาวร
ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) ได้มีครอบครัวคริสตังจากนครพนมอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ห้วยเซือมอีก 4 ครอบครัว ซึ่งนำโดยหลวงบำรุง หมื่นเสมอใจ ในระยะแรกๆการปฏิบัติศาสนกิจของชนกลุ่มน้อยนี้ได้อาศัยการไปร่วมบูชามิสซาที่วัดนักบุญเปโตรบ้านแก่งสะดอก ในสมัยนั้นมีคุณพ่อเบร็ก เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส
หลายปีต่อมา ได้มีชาวบ้านอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน และมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น จาก 3-4 ครอบครัว เพิ่มเป็น 22 ครอบครัว มีชาวบ้านเกือบร้อยคน
สภาพการเมืองการปกครองบ้านห้วยเซือมนี้ แต่เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอชัยบุรี จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันขึ้นกับ ต.ชัยพร อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ) การปฎิบัติศาสนกิจเป็นไปอย่างราบรื่น แต่เนื่องจากคุณพ่อเบร็ก ได้มองเห็นความยากลำบากของชาวบ้าน ในการเดินทางพายเรือข้ามแม่น้ำโขงเพื่อไปร่วมปฎิบัติศาสนกิจ โดยเฉพาะในฤดูฝน ซึ่งน้ำไหลเชี่ยวเป็นอันตรายต่อการเดินทางไปมา ระหว่างบ้านห้วยเซือมและแก่งสะดอก คุณพ่อจึงปรึกษากับชาวบ้าน เพื่อสร้างศาลาขึ้นสัก 1 หลังเพื่อที่จะใช้เป็นที่ประกอบพิธีบูชามิสซาและปฎิบัติศาสนกิจอื่นๆ แล้วการก่อสร้างก็เริ่มขึ้นโดยมีนายจันทาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง
8 ปีต่อมา ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432) คุณพ่อเบร็กถูกย้ายให้ไปดูแลสัตบุษที่เขตอื่น ผู้ที่รับหน้าที่แทนคือ คุณพ่อแกวง (ต่มาได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราช) ในช่วงนี้ก็ได้มีการผลัดเปลี่ยนพระสงฆ์ที่มาปกครองดูแลสัตบุรุษอีกหลายองค์
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482) สงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น (สงครามอินโดจีน) พวกพระสงฆ์และมิชชันนารีฝรั่งเศสได้ถูกเนรเทศและห้ามไม่ให้ประกาศพระศาสนา ประกอบกับมีการเบียดเบียนพระศาสนาจักรปะปนอยู่ด้วย ชาวบ้านเกิดความกลัวเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็เกิดโรคระบาดแพร่ไปทั่วหมู่บ้าน มีผู้คนล้มตายไม่แพ้แต่ละวัน จึงทำให้ชาวบ้านบางส่วนอพยพไปอยู่ที่อื่น บางคนก็ทิ้งศาสนาเพราะกลัวภัย ส่วนที่เหลือและยังมีความเชื่อในศาสนา ก็ได้ลักลอบไปร่วมมิสซาที่บ้านแก่งสะดอก ประเทศลาว
เมื่อภาวะสงครามสงบลง ก็ได้มีผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านห้วยเซือมมากขึ้น โดยมาจากหลายแห่งคือ
· ปักซัน (ประเทศลาว) มีนายเพ็ง แพงดวง และครอบครัว ญาติพี่น้อง
· ดอนโดน (ประเทศลาว) มีนายบุญ บุญทอด และครอบครัว
· เชียงยืน มีนายใบ แสนงาม และครอบครัว
เมื่อมีคนมาอยู่มากขึ้น ชาวบ้านได้ประชุมตกลงกันที่จะวางผังเมืองของหมู่บ้านให้มีถนน และกำหนดแบ่งที่อยู่ที่ทำกินแต่ละหมู่บ้าน ในขณะเดียวกันที่ประชุมก็ได้ตกลงให้มาสร้างวัดตรงสุดถนนใจกลางหมู่บ้าน ซึ่งห่างจากที่เดิมประมาณ 200 เมตร (คือที่ปัจจุบัน) วัดหลังใหม่นี้สร้างด้วยไม้ หลังคามุงแฝก ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคือ คุณพ่อ Arbonel คณะ M.E.P. หรือที่ชาวบ้านมักเรียก “คุณพ่อว่าซาปีเน็น” โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมด้วย มีนายคำ แสนอาจ นายทองสุข บุญทอด นายใบ แสนงาม นายวันทา คำแก้ว เมื่อช่วยกันสร้างจนเสร็จแล้ว ก็ได้ขนานนามชื่อว่า วัดนักบุญอักแนส
คุณพ่อซาปีเน็น ได้มาคอยดูแลเอาใจใส่สัตบุรุษที่ห้วยเซือมและที่บ้านแก่งสะดอกประมาณ 2-3 ปี ต่อมาก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของพระศาสนจักร โดยมีการแยกมิสซังท่าแร่-หนองแสง ดูแลศัตบุรุษที่บ้านห้วยเซือมต่อไป
คุณพ่อจากมิสซังท่าแร่-หนองแสง ที่มาดูแลศัตบุรุษที่บ้านห้วยเซือมคือคุณพ่อสีนวล ท่านมาปีละครั้ง ท่านมาเพียง 2 ครั้ง ก็มอบหน้าที่ให้คุณพ่อคานมาเป็นผู้ดูแลบ้านห้วยเซือมแทนท่าน เนื่องจากการเดินทางไปมาลำบาก พาหนะที่คุณพ่อใช้คือ ม้า ท่านจึงมาถวายมิซซาที่ห้วยเซือมปีละครั้งเช่นแต่ก่อน คุณพ่อคานดูแลอยู่ประมาณ 3-4 ปี ก็พอดีมีพวกมิสชันนารีจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยงานที่สังฆมลฑลท่าแร่-หนองแสง
มิสชันนารีที่ได้แสดงความจำนงที่จะอาษามาแบ่งเบาภาระดูแลสัตบุรุษในเขตนี้ก็คือ คณะพระมหาไถ่ ซึ่งผู้ที่มาดูแลคนแรกคือ คุณพ่อดูฮาร์ต (พระคุณเจ้าดูฮาร์ต) ภายหลังมีการแบ่งแยกเขตการปกครองจากมิสซังท่าแร่-หนองแสงออกเป็น 2 เขตการปกครอง จึงกลายมาเป็นสังฆมลฑลอุดรธานี
คุณพ่อดูฮาร์ตมาห้วยเซือมเดือนละครั้ง อยู่กับชาวบ้านคราวละหนึ่งสัปดาห์ บรรยากาศของศาสนาคึกคักมาก ท่านอยู่ได้ประมาณ 3-4 เดือน ท่านก็ได้ส่งมอบหน้าที่ให้คุณพ่อลารีวีแย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า “คุณพ่อห้วย” โดยบังเอิญขณะที่คุณพ่อรับหน้าที่อภิบาลสัตบุรุษอยู่ที่ห้วยเซือม ท่านได้รับอุบัติเหตุ ขณะเดินข้ามสะพานไม้ท่อนเดียวข้ามลำห้วย โดยที่ท่านไม่ได้ถอดรองเท้าหนัง ทำให้พลาดตกสะพานสูงจากพื้นน้ำมากทีเดียว อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้แขนท่านหักต้องไปรักษาตัว คุณพ่อดูฮาร์ตซึ่งจากไป 2-3 ปีแล้วต้องกลับมาแทนอีกครั้งหนึ่ง
ปลายปี 1952 หรือต้นปี 1953 คุณพ่อโกโตรเข้ามารับงานดูแลสัตบุรุษในหมู่บ้านห้วยเซือม ช่วงเวลานี้เองคุณพ่อได้ริเริ่มโครงการก่อสร้างวัดหลังไหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม โดยได้รับการออกแบบและก่อสร้างโดยฝีมือของบราเดอร์เควิน ได้เรียนและบวชเป็นพระสงฆ์โดยมีนามว่า “คุณพ่อแพตี้ พาวเวอร์”
พี่น้องสัตบุรุษห้วยเซือมในเวลานั้น ประมาณปี ค.ศ. 1957 มีความเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นอย่างมาก ร่วมแรงร่วมใจกัน พวกเขาสละเวลาส่วนตัว โดยที่ชาวบ้านที่อยู่บ้านห้วยเซือมท่าจะช่วยกันขนทรายจากเกาะแก่งในแม่น้ำโขงขึ้นมาไว้ในบริเวณก่อสร้างวัด เพื่อใช้ในการก่อสร้าง ขณะเดียวกันชาวบ้านที่อยู่ตอนบนของหมู่บ้าน (หรือที่เรียกว่า”บ้านเทิง”) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำหน้าที่ขนกรวดเข้ามาไว้ในบริเวณก่อสร้างด้วย ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อให้การก่อสร้างของวัดของพวกเขาออกมาให้สมบูรณ์ที่สุด การก่อสร้างวัดดำเนินไปเรื่อยๆ มีการซื้อควาย 2 ตัว มาย่ำดินเหนียวที่จะใช้ในการปั้นอิฐ คุณพ่อโกโตรและบราเดอร์เควินได้รับอนุญาตจากคุณพ่ออธิการให้อยู่ก่อสร้าง โดยไม่ต้องกลับไปศนย์กลางเป็นเวลา 3 เดือน ขณะก่อสร้างวัดห้วยเซือม บราเดอรฺเควินก็ได้ต่อเรือขึ้นลำหนึ่ง เพื่อใช้เดินทางล่องตามลำแม่น้ำโขงด้วย คุณพ่อโกโตรอยู่กับชาวบ้านห้วยเซือมประมาณ 6 ปี
คุณพ่อโบลิน คณะพระมหาไถ่ เข้ามาต่องานของคุณพ่อโกโตร คุณพ่ออยู่กับชาวบ้านประมาณ 6 ปี ตลอดระยะเวลานี้ท่านมาเดือนละครั้งหรือสองเดือนต่อครั้ง แต่ละครั้งนอกจากงานอภิบาลในเรื่องศิลศักดิ์สิทธิ์แล้ว ท่านยังดูแลในเรื่องสุขภาพอนามัยของชาวบ้านด้วยท่านได้ชื่อว่า เป็นหมอที่ฉีดยาที่เก่งมากด้วย
งานของพระเป็นเจ้าไม่เคยหยุดหย่อน คุณพ่อดิ๊ก สตร๊าส เป็นคุณพ่อองค์ต่อมาที่มาสานงานของพระศาสนจักรเป็นองค์ต่อมา เครื่องปั่นไฟฟ้า ตู้เย็นน้ำมันก๊าด เริ่มเข้ามามีบทบาท แม้จะมีเฉพาะในวัดก็ตาม คุณพ่ออยู่ประจำกับชาวบ้านห้วยเซือม ความคิด ความเจริญต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการเกษตร จึงเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่ท่านนำมาเผยแพร่ต่อชาวบ้าน
คุณพ่อไมเคิล เช หมอชาวบ้านผู้เลื่องชื่อ ได้มาต่องานของคุณพ่อดิ๊ก สตร๊าส ตลอดระยะเวลา 9 ปี ที่คุณพ่ออยู่กับชาวบ้านห้วยเซือม คุณพ่อดูแลทั้งวิญญาณให้ชาวบ้านเป็นคนดีกับเพื่อนพี่น้อง ใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า คุณพ่อยังดูแลร่างกาย การรักษาพยาบาลไปพร้อมๆกันด้วย พี่น้องชาวพุทธหรือศาสนาอื่นก็ได้รับการปฎิบัติเช่นเดียวกัน งานของท่านยังคาบเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ทำกินของชาวบ้าน แม่กระทั่งในการกีฬา ที่ได้รับการส่งเสริมอย่างดีจากท่าน ชื่อเสียงความเก่งกาจของกีฬาฟุตบอล ทีมบ้านห้วยเซือมยังเป็นที่เลื่องลือไปไกลทั่วเขตบริเวณนั้น จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ด้วย
งานของพระเป็นเจ้าก็สืบต่อกันมาเรื่อยๆ มีการพัฒนาทั้งจิตวิญญาณและการพัฒนาของชีวิตคริสตชน การปลูกสร้าง ซ่อมแซม ควบคู่กันไป โดยมีคุณพ่อองค์ต่างๆ ของคณะพระมหาไถ่ และคุณพ่อจากสังฆมลฑลผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาดูแลวิญญาณของชาวบ้านห้วยเซือม ดังรายนามต่อไปนี้
3.3 ลำดับเจ้าอาวาส
คุณพ่อประสิทธิ์ ตรงสหพงศ์ 1972 (ค.พ. 2515)
คุณพ่อเล้ง โคธิเสน
คุณพ่อธนู กระทอง
คุณพ่อบรรจง ไชยรา
คุพ่อจอห์น ทาบอร์ 1979 (ค.พ. 2522)
คุณพ่อปรีดา โอนากุล รักษาการ
คุณพ่อเจริญ อาทิตยา 1981 (ค.พ. 2524)
คุณพ่อเล้ง โคธิเสน (รอบที่ 2) 1983 (ค.พ. 2526)
คุณพ่อบุญรอด เวียงพระปรก 1984 (ค.พ. 2527)
คุณพ่อมีชัย อุดมเดช 1986 (ค.พ. 2529)
คุณพ่อทิวา แสงศิริวัฒน์ 1992 (ค.พ. 2535)
คุณพ่ออำนวยสิน ทองอำไพ รักษาการ
คุณพ่อวัฒนา ศรีวรกุล 1993 (ค.พ. 2536)
คุณพ่อไพบูลย์ สมภพศุภนารถ 1997 (ค.พ. 2540)
คุณพ่อจักรายุทธ์ ปาละลี รักษาการ
คุณพ่อเทียนชัย เกษสุรินทร์ รักษาการ
คุณพ่อสุขุม ธนะสิงห์ 1998 (ค.พ. 2541)
คุณพ่อเทียนชัย เกษสุรินทร์ 2002 (ค.พ. 2545)
คุณพ่อสมนึก สุทธิ 2005 (ค.พ. 2548)
คุณพ่อหลุยส์ มีเกล อาบีเลส 2009 (ค.พ. 2552)
คุณพ่อกำจัด เสาะก่าน 2010 (ค.พ. 2553)
คุณพ่อโฮเซ่ โรดริเกซ 2014 (ค.พ. 2557)
3.4 การกำเนิดองค์กรต่าง ๆ ในวัด
คณะพลมารี
คณะคาริตัส
สมาคมนักบุญวินเซนเดอปอล
คณะผู้สูงอายุ
3.5 ลูกวัดที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์
คุณพ่อฟาเบียนบัวทอง บุญทอด (พื้นเมืองอุดร)
คุณพ่อเปโตรวันรบ บุญทอด (คณะพระมหาไถ่)
ซิสเตอร์เซซีลีอา กัญญพัช เทพสมพร (คณะภคินีพระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพ)
ซิสเตอร์มารีอาหนึ่งฤทัย อินมียืน (คณะภคินีพระหฤทัยของ พระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพ)
ซิสเตอร์มารีอานันท์ อินมียืน (คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์)
ซิสเตอร์อักแนสโยธิกา บุญธาต (คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์)
ซิสเตอร์คริสตินาพรนารายณ์ แลงโดน (กลาริส กาปูชิน)
ซิสเตอร์มารีอาไขวณี อินมียืน (โอเบค)
3.6 จำนวนสัตบุรุษ
685 คน
4. ตารางเวลามิสซา
วันอังคาร 06:30
วันพฤหัสบดี 17:00
วันเสาร์ 19:00
วันอาทิตย์ 07:00
เจ้าอาวาส
คุณพ่อเฟเบียน บัวทอง บุญทอด