วัดแม่พระถวายพระกุมารในพระวิหาร บ้านห้วยเล็บมือ

 

ต.  หนองเดิ่น  อ.บุ้งคล้า  จ.หนองคาย

ตู้  ป.ณ.5  อ.  บึงกาฬ  จ.  หนองคาย  43140  โทร.  081 9744662

ชาวบ้านห้วยเล็บมือ เดิมอพยพมาจากหมู่บ้านพงวินแขวงคำม้วน ตอนใต้ประเทศลาวเป็นชนเผ่าไทยเทิง (ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า พวกข่า) เมื่อเกิดสงครามศึกฮ่อขึ้นชาวบ้านก็ต้องอพยพหนี บางกลุ่มถูก

จับไปเป็นทาส และต่อมา คุณพ่อเดอลาเลกซ์ ชาวฝรั่งเศสได้ไถ่พวกเขาให้เป็นอิสระนายหลวงเสาะก่าน,

นายเพียท้าวดีและนายเพียชัย  คุณสิงห์ ได้พากันชักชวนพี่น้องชาวไทเทิงจำนวนหนึ่ง ล่องแพมาตามลำน้ำหินบูน (ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขง ตรงข้ามอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) พักอยู่ที่ปากแม่น้ำหินบูนระยะหนึ่ง แล้วล่องแพทวนน้ำโขงขึ้นมาจนถึงบ้านห้วยเซือมอยู่ที่นั่น 2 ปี เพราะเห็นว่าไม่เหมาะจึงย้ายลงมา

อยู่ที่ท่าศาลา (ปัจจุบันเป็นป่าช้าพุทธ หมู่บ้านหนองคังคา) อยู่ที่นี่2ปี เห็นว่าไม่เหมาะในการทำมาหากิน 

จึงย้ายขึ้นมาอยู่ที่หมู่บ้านภูทอก ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านห้วยเล็บมือหมู่บ้านห้วยเล็บมือปัจจุบัน

ขึ้นกับตำบลหนองเดิ่นกิ่งอำเภอ บุ่งคล้าจังหวัดหนองคายแรกเริ่มตั้งหมู่บ้านมีประมาณ20 หลังคาเรือน

ปัจจุบันมี46หลังคาเรือน65ครอบครัวประชากรทั้งสิ้น 315คนหมู่บ้านแห่งนี้จะต้องมีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากกว่านี้ แต่ทั้งนี้เป็นเพราะชาวบ้านจำนวนหนึ่ง (ประมาณ25ครอบครัว) ได้พากันย้ายไปตั้งถิ่นฐานไปทำ

มาหากินที่บ้านภูสวาท ซึ่งห่างจากหมู่บ้านเดิมประมาณ3 กิโลเมตร (ติดกับทางหลวง)ชาวไทเทิงมีอาชีพสืบต่อกันมาคือการทำไร่ตามภูเขาดังคำพูดที่ว่า ภูสูงไว้ให้ข่า นากว้างไว้ให้ลาว ปัจจุบันชาวบ้านยังยึดอาชีพทำไร่  และทำนาเสริมอีกด้วย

ความเจริญในอดีตที่พอจะกล่าวถึงก็คือเมื่อประมาณ 45 ปีที่แล้ว มีโรงเรียนหลังแรกซึ่งมีครูกาจากบ้านหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้ดูแลตั้งอยู่ที่บ้านพักพระสงฆ์ในปัจจุบัน(ตอนนั้นเป็นสงครามอินโดจีนจึงไม่มีพระสงฆ์พักประจำ) ใช้ประมาณ 3ปี จึงย้ายไปตั้งอยู่  โรงเรียนบ้านห้วยเล็บมือในปัจจุบัน

หมู่บ้านห้วยเล็บมือเป็นหมู่บ้านคาทอลิกมาตั้งแต่เริ่มแรก ตั้งแต่คุณพ่อเดอลาเล็กซ์ได้ไถ่พวกเขาให้เป็นอิสระ และปลูกฝังความเชื่อให้แก่ผู้สนใจนับถือศาสนา  และในจำนวนนี้กลุ่มหนึ่งได้อพยพย้ายถิ่นฐานหากินจนมาหยุดอยู่  สถานที่แห่งนี้ ซึ่งความเชื่อถือในอดีตได้ถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน คุณภาพชีวิตของชาวบ้าน และความเจริญทางศาสนา ได้เข้ามาโดยทางพระสงฆ์ผู้แพร่ธรรมตามลำดับดังนี้

 - คุณพ่อเดอลาเล็กซ์  ได้ข้ามมาจากฝั่งลาว  มาทำมิสซาให้เป็นครั้งคราว  ใช้บ้านชาวบ้านเป็นศูนย์รวม

 - คุณพ่อมารียนต์  รับช่วงต่อมาจนมรณกรรม

 - คุณพ่อซาพีแน้ง  ซึ่งอยู่ที่บ้านแก้งต้องรับหน้าที่ดูแลแทนทุกครั้งที่จะข้ามมาทำพิธี  ท่านจะเป่าแตรเพื่อเป็นสัญญาณให้ชาวบ้านไปรับ คุณพ่อได้สร้างวัดหลังแรกขึ้น  (ที่ทำการ ซี.ซี.เอฟ. ปัจจุบัน) โดยใช้เสาไม้ ฝาไม้ไผ่และขี้ควายผสมปูนขาวโบกต่างซีเมนต์ ต่อมาได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังปัจจุบัน (ซึ่งได้ต่อเติมในสมัย

ของคุณพ่อองค์ต่อๆมา) สร้างกำแพงรอบบ้านพัก ภายในปลูกมะนาวและเผือกมันชั้นบนใช้เป็นวัด 1 ส่วน

และห้องนอน1 ส่วนกรณีพิพาทอินโดจีน คุณพ่อซาพีแน้ง ต้องไปอาศัยอยู่ฝั่งลาวเพื่อความปลอดภัย

การเบียดเบียนเข้ามาแทนที่ตำรวจได้นำ ปลัดเมธ (คำว่าปลัด : พระผู้ใหญ่)ซึ่งประจำอยู่ที่บึงกาฬ มาที่หมู่บ้านห้วยเล็บมือชักชวนชาวบ้านมาฟังเทศน์  ให้ละทิ้งศาสนาคาทอลิกประมาณ2 ปีต่อมีคุณพ่อแท่ง

จากบ้านดอนโดน (ประเทศลาว) มาบอกชาวบ้านว่าการเบียดเบียนศาสนาได้จบสิ้นแล้ว แต่ชาวบ้านยังไม่มั่นใจ เพราะกลัวว่าจะเป็นเหมือนห้วยเซือมที่มีคนมาบอกเช่นกันขณะนั้น ในหมู่บ้านมีประมาณ25ครัวเรือนคุณพ่อมา3เดือนครั้ง  มาอยู่ครั้งละประมาณ  1  สัปดาห์

 - คุณพ่อคาร  โสรินทร์  มาฟื้นฟูศาสนา  ตักเตือนให้กลับคืนสู่ความเชื่อดังเดิม

 - ในสมัยคุณพ่อศรีนวล ศรีวรกุลชาวบ้านกลับคืนสู่ศาสนามากขึ้น เพราะค่อนข้างจะแน่ใจและยังมั่นใจ 

(ละทิ้งผี) มากที่สุดว่าศาสนาคืนมาแล้ว เมื่อคุณพ่อได้พาคุณพ่อดูฮาร์ตมาด้วย (ชาวบ้านเห็นเป็นฝรั่งจึงมั่นใจว่าศาสนาคืนมาแน่) 

 - คุณพ่อดูฮาร์ดทำหน้าที่ดูแลแทน โดยมาอยู่ที่ห้วยเล็บมือ1สัปดาห์ และอยู่ที่ห้วยเซือมอีก1สัปดาห์ต่อมามอบหน้าที่ให้คุณพ่อลีแอร์ แต่คุณพ่อพลาดตกสะพานแขนหักต้องไปรักษาตัวท่านดูฮาร์ดซึ่งจากไป1 ปีเต็มก็ต้องกลับมารับหน้าที่แทนอีกครั้งหนึ่งท่านดูฮาร์ดพาคุณพ่อโกโตรมาด้วย คุณพ่อไปมาระหว่างบ้านเวียงคุก กับห้วยเล็บมือ และอยู่ที่บ้านห้วยเล็บมือครั้งละ1 เดือนดูแลประมาณ 2 ปี จึงได้สร้างวัดหลังปัจจุบันขึ้น

 - คุณพ่อโบลินรับช่วงต่อ ช่วงนี้ชาวบ้านต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมไร่นาทุกปี โดยเฉพาะในปี  2509 ซึ่งร้ายแรงที่สุด คุณพ่อนั่งเครื่องบินมาประกาศว่าจะไม่ได้มาจนกว่าน้ำจะแห้ง ขณะเดียวกันก็นำสิ่งของมาช่วยบรรเทาทุกข์ โดยเฉพาะข้าวสาร คุณพ่อไม่ได้ให้ฟรีๆ แต่ให้ไปขนหินขนทรายจากฝั่งโขงขึ้นมาไว้ซ่อมแซมดัดแปลงวัก คิวละ1 กระสอบ

 - คุณพ่อดิ๊กสตร๊าส เป็นคุณพ่อที่อยู่ประจำ เป็นผู้นำความเจริญทางการเกษตรมาให้ ได้แก่แตงกว่าลาย

พันธุ์อเมริกัน ลำไยมะม่วงและมันสำปะหลังซึ่งไปซื้อพันธุ์มาจากบ้านโนนสา เป็นต้น ขณะนั้นในหมู่บ้าน

มีประมาณ 60หลังคาเรือน

 - คุณพ่อไมเกิล  เชหมอชาวบ้าน ผู้ลือชื่อจนถูกโรงพยาบาลประท้วง  และตำรวจห้ามให้เพลาลงบ้างทั้งนี้เพราะทั้งพุทธคริสต์จากใกล้ไกลนิยมคุณพ่อมาก ไม่นิยมไปโรงพยาบาลบึงกาฬคุณพ่อต้องดูแลห้วยเซือมด้วยในส่วนของวัดห้วยเล็บมือนั้น  ได้ให้บราเดอร์คอร์นี่ จัดทำรูป14ภาคติดฝาผนังม้านั่งในวัด  และฝาวัด

 - คุณพ่อเล้ง โคธิเสนยุคน้ำไหลไฟสว่างมาถึงแล้ว คุณพ่อนักพัฒนาได้ร่วมกับชาวบ้านซื้อเครื่องจากโรงสีนายศรีฟอง คุณสิงห์ และดัดแปลงเป็นเครื่องทำไฟฟ้า เพื่อบริการให้ชาวบ้าน คิดค่าบริการหลอดละ18บาทต่อเดือนบริการตั้งแต่18.00น.ถึง 21.00น.

 - คุณพ่อวราศักดิ์ บูรณพลโครงการซี.ซี.เอฟ. ช่วยบรรเทาความยากจนของชาวบ้านได้เกิดขึ้นมีสำนักงานอยู่ติดฝั่งโขง ในหมู่บ้านมี41 หลังคาเรือนโครงการเพื่อหารายได้เพิ่มพูนได้เกิดขึ้น เช่นโครงการประมงโครงการปลูกกระเทียม เป็นต้น

 - คุณ พ่อเล้ง กลับมาเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้ง มี คุณพ่อบุญรอด เวียงพระปรกมาเป็นผู้ช่วยประจำที่หมู่บ้าน ประมาณ1 ปี จึงย้ายวัดไปห้วยเซือม

 - คุณพ่อปรีดาโอนากุลมาอยู่ต่อประมาณ3เดือน

 - คุณพ่อพิชาญใจเสรีมาประจำได้สร้างถ้ำแม่พระบริเวณหน้าวัดสวยงามมาก

 - คุณพ่อชูชาติ  ศรีวิชัยรัตน์ได้บูรณะซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ เปลี่ยนหลังคาใหม่ทาสีวัดและยังหาเงินสร้างสนามกีฬา สำหรับเยาวชนและเด็กๆทำกำแพงอิฐบล็อกรอบวัด

 - พ.ศ.  2539  คุณพ่อโกวิทย์  เจริญพงศ์  เป็นเจ้าอาวาส

 - พ.ศ.  2540  คุณพ่ออำนวยศิลป์  ทองอำไพ  เป็นเจ้าอาวาส

 - พ.ศ.  2541  คุณพ่อจักรายุทธ  ปาละลี  เป็นเจ้าอาวาส

 

ปัจจุบัน คุณพ่อเปโตร วินัย แสนงาม เป็นเจ้าอาวาส

แผนที่