เกิดวัันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1962

เป็นบุตรของมีคาแอล แถว ธาตุวิสัย

และ ริต้า ทรงศรี ธาตุวิสัย

เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 4 คน ได้แก่

1.พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย

2.นาย เยราร์ด ไพโรจน์ ธาตุวิสัย

3.ด.ต. เปโตร วิรุฬห์ (สมชาย) ธาตุวิสัย

4.นาย อัลฟอนโซ สมหมาย ธาตุวิสัย

 

เป็นสัตบุรุษ วัดพระวิสุทธิวงศ์ โพนสูง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี

ภูมิลำเนา่ อำเภอบ้า่นดุง จังหวัดอุดรธานี

รับศีลล้างบาป วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1962

รับศีลมหาสนิท วันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1971

รับศีลกำลัง วันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1976

โดยพระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร

เข้าบ้านเณร เมื่ออายุ 15 ปี (ชั้น ม.ศ. 3) โดย คุณพ่อสุริโย ยะงาม เป็นผู้ส่งเข้า

ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1990 :

ที่อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ อุดรธานี โดยพระสังฆราชยอด พิมพิสาร

 

ประวัติการศึกษา

1968-1975 ปฐมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่โรงเรียนพระวิสุทธิวงศ์ โพนสูง

1976-1977 มัธยมศึกษาปีที่ 1-2 ที่โรงเรียนบ้านดุงวิทยา บ้านดุง อุดรธานี

1978-1981 มัธยมศึกษาปีที่ 3-5 ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ท่าแร่ สกลนคร

1983-1986 ปริญญาตรีสาขาปรัชญา ที่วิทยาลัยแสงธรรม (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)

1987-1989 ปริญญาตรีสาขาเทววิทยา ที่วิทยาลัยแสงธรรม (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)

1992 เรียนภาษาเพื่อเตรียมศึกษาต่อที่วิทยาลัยแสงธรรม

1993-1997ปริญญาโทสาขาการตีความพระคัมภีร์ (S.S.L.) ที่ Pontificium Institutum Biblicum กรุงโรม ประเทศอิตาลี (Cum Laude)

1998   ทำงานอภิบาลและเรียนภาษาอังกฤษที่วัดนักบุญฟิลิป เมืองแพเซดีน่า รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

2000-2006 ปริญญาเอกสาขาเทววิทยาด้านพระคัมภีร์ (S.T.D.) ที่ Institut Catholique de Paris กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (Cum Laude)

 

กระแสเรียก

แรงจูงใจที่ตัดสินใจบวช “ประทับใจมิชชันารีที่มาทำงานในสังฆมณฑล และอยากรับใช้พระศาสนจักรในฐานะพิเศษ”

 

1978-1981 สามเณราลัยฟาติมา ท่าแร่ สกลนคร

1982 บ้านเณรกลางพระวิสุทธิวงศ์ นครราชสีมา

1983-1989 บ้านเณรใหญ่แสงธรรม รุ่นที่ 11

ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อสุริโย ยะงาม, C.Ss.R.

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อ่านพระคัมภีร์

วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1986 ที่สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดยพระสังฆราชมีคาแอล บุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ ประมุขสังฆมณฑลอุบลราชธานี

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยพิธีกรรม

วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1987 ที่สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดยพระสังฆราชยอห์น บอสโก มนัส จวบสมัย ประมุขสังฆมณฑลราชบุรี

ได้รับศีลบวชเป็นสังฆานุกร

วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ.1989 ที่อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ อุดรธานี โดยพระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์

วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ.1990 อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ อุดรธานี โดยพระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช

วันเสาร์ที่  14 พฤศจิกายน ค.ศ.2009 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี

อภิเษกเป็นพระสังฆราช

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ที่อาสนวิหารพระมารดานิจจานุเคราะห์ อุดรธานี โดยพระคุณเจ้ายอร์ช ยอด พิมพิสาร

 

ภาระกิจสงฆ์

 

ค.ศ.1990-1991

ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บ้านไผ่ ขอนแก่น และผู้จัดการโรงเรียนมหาไถ่ศึกษา ขอนแก่น

ค.ศ.1992-1993

เรียนภาษาที่สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม และเตรียมตัวไปศึกษาต่อต่างประเทศ

ค.ศ.1997-1998

ทำงานอภิบาลและเรียนภาษาอังกฤษที่วัดนักบุญฟิลิป เมืองแพเซดีน่า รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ค.ศ.1998-2000

อาจารย์วิชาพระคัมภีร์ วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม

ค.ศ.2000-2006

ศึกษาต่อที่ Institut Catholique de Paris ประเทศฝรั่งเศส จบปริญญาเอก สาขาเทววิทยา ด้านพระคัมภีร์

ค.ศ.2007-2009

อาจารย์วิชาพระคัมภีร์ วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม ผู้อำนวยการแผนกพระคัมภีร์

ค.ศ. 2009

เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม

 

หลักในการทำงาน

“ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้”

 

คติพจน์ประจำใจ (พระสงฆ์ )

OMNIA PRO JESU (ทุกอย่างเพื่อพระเยซูเจ้า)

 

คติพจน์ (พระสังฆราช )

A CRUCE SALUS (ความรอดพ้นมาจากกางเขน)

 

 

 

ตราประจำตำแหน่ง

 

ความหมายของตราประจำตำแหน่ง

ตามประเพณีของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ตราประจำตำแหน่งของพระสังฆราชประกอบด้วย

โล่กับสัญลักษณ์ประจำตระกูล มีความหมายเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ และ/หรือกับนามชื่อของพระสังฆราช

กางเขนทองสำหรับแห่ ไม้ขวางหมายถึงตำแหน่งของพระสังฆราช ยึดติดกับไม้ตั้งซึ่งอยู่ด้านหลังของตัวโล่

หมวกเขียว มีภู่ห้อยสิบสองช่อ ด้านละหกเรียงกันสามชั้น ชั้นบนหนึ่งช่อ ชั้นสองสองช่อ และชั้นสามสามช่อ

ม้วนหนังสือจารึกคติพจน์ เขียนด้วยสีดำอยู่ล่างสุด

คำบรรยายตราพระสังฆราช

พื้นหลัง เป็นโล่สีทอง เจ็ดแฉก

ส่วนบน มีดวงดาวสีฟ้าห้าแฉกห้าดวง

ส่วนล่าง มีลูกแกะปัสกายืนอยู่บนหนังสือพระคัมภีร์ที่เปิดอยู่โดยเท้าด้านขวาเกี่ยวธงสีขาวตรงกลางมีกางเขนสีแดงไว้

คติพจน์

“A Cruce Salus” หมายความว่า “ความรอดพ้นมาจากกางเขน”

กางเขนไม่เพียงเผยแสดงให้เห็นถึงความรัก (รม 5:8) และปรีชาญาณที่ล้ำเลิศ (1 คร 2:6-9) ของพระเจ้า รวมทั้งความสุภาพถ่อมตนจนถึงที่สุดของพระคริสตเจ้า (ฟป 2:8) เท่านั้น แต่สำหรับผู้มีความเชื่อแล้ว กางเขนยังเผยแสดงให้เห็นถึงความรอดพ้นที่ครอบคลุมไปถึงการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างจากการเป็นทาสของธรรมบัญญัติ (กท 2:19-20) และบาป (รม 6:6) อีกด้วย

ความหมายของตราพระสังฆราช

โล่ หมายถึงการปกป้องคุ้มครอง (สดด 3:3) ความโปรดปราน (สดด 5:12) และความซื่อสัตย์ (สดด 91:4) ของพระเจ้า รวมทั้งความเชื่อของคริสตชน (อฟ 6:16) ในเขตสังฆมณฑลอุดรธานีด้วย สีทองเป็นสีแห่งศักดิ์ศรีและเกียรติรุ่งโรจน์ เจ็ดแฉกหมายถึงความครบบริบูรณ์ของสัญลักษณ์ดังกล่าว

ดวงดาวสีฟ้า หมายถึงพระนางพรหมจารีมารีย์ ผู้ทรงเป็นแบบฉบับของบรรดาคริสตชน ทั้งในเรื่องความนบนอบต่อพระประสงค์และการดำเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า (ลก 1:38) ยิ่งกว่านั้น ดวงดาวห้าดวงยังเป็นสัญลักษณ์แทนห้าจังหวัดซึ่งอยู่ในเขตสังฆมณฑลอุดรธานี กล่าวคือ อุดรธานี ขอนแก่น เลย หนองคาย และหนองบัวลำภูอีกด้วย

ลูกแกะปัสกาที่ยืนอยู่ หมายถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรงสิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพแล้ว พระองค์ทรงเป็นเสมือนลูกแกะที่ถูกฆ่าถวายเป็นเครื่องบูชา (วว 5:6) เพื่อช่วยมนุษยชาติให้รอดพ้นจากบาปอาศัยพระโลหิตที่ไหลหลั่งบนกางเขนของพระองค์ (วว 7:14) ยิ่งกว่านั้น ลูกแกะปัสกายังเป็นสัญลักษณ์หมายถึงศีลมหาสนิท อันเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชนอีกด้วย

ธงสีขาว หมายถึงชัยชนะ ด้ามธงที่เป็นกางเขนสีดำและรูปกางเขนสีแดงหมายความว่าพระเยซูเจ้าทรงได้รับชัยชนะเหนือความตายและบาปโดยผ่านทางการสิ้นพระชนม์ของพระองค์บนกางเขน

 

หนังสือพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นพระวาจาของพระเจ้าที่ตรัสด้วยภาษาของมนุษย์เพื่อความรอดพ้นของเรา เป็นสัญลักษณ์ของงานธรรมทูต เพราะพระคัมภีร์เป็นข่าวดีที่ต้องประกาศและแบ่งปันให้กับคนอื่น อนึ่งพระคัมภีร์ยังหมายถึงหน้าที่สำคัญอันหนึ่งของคริสตชนทุกคนในเขตสังฆมณฑลอุดรธานีด้วย นั่นคือ การรู้จักพระคริสตเจ้า ทั้งนี้เพราะการไม่รู้จักพระคัมภีร์คือการไม่รู้จักพระคริสตเจ้า (นักบุญเยโรม) ตรงกันข้าม ยิ่งเรารู้จักพระคัมภีร์ เราก็ยิ่งรู้จักพระคริสตเจ้ามากขึ้น แล้วเราก็ยิ่งจะรักและเต็มใจที่จะรับใช้พระองค์มากขึ้นด้วย ยิ่งกว่านั้น หนังสือพระคัมภีร์และลูกแกะปัสการวมกันเป็นสัญลักษณ์หมายถึงพันธกิจสำคัญของประมุขสังฆมณฑอุดรธานี กล่าวคือ การหล่อเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชนด้วยอาหาร “ทั้งจากโต๊ะพระวาจาและจากโต๊ะพระกายพระคริสตเจ้า” (DV 21)