วัดพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล
ถ.เลย – เชียงคาน ต.กุดป่อง อ.เชียงคาน จ.เลย 42000
ตู้ป.ณ.15 อ.เมือง จ.เลย 42000 โทร. (042)811794
[เจ้าอาวาสปัจจุบัน : คุณพ่อเปโตร วัยพรต พุฒสา, O.M.I.]
คุณพ่อแฮรี่ ทีล, CssR.
คุณพ่อแฮรี่ มาถึงท่าบม เพื่อรับหน้าที่เจ้าวัด เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 1964 วันรุ่งขึ้นท่านก็ไปที่เมืองเลย เพื่อจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเริ่มแรกมีผู้ถวายที่ดินจำนวน 16 ไร่ พร้อมกับบ่อน้ำให้ที่บริเวณหนองผักก้ามซึ่งได้นำมาใช้ในการสร้างบ้านพักคุณพ่อและวัด (อยู่ระหว่างเส้นทางไปสู่อำเภอเชียงคาน) ท่านยังได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินอีกหลังหนึ่ง คือ บ้านเลขที่ 12 ถนนมะลิวัลย์ ซึ่งต่อมาในเดือนสิงหาคม 1964 ได้ใช้เป็นบ้านของคุณพ่อเจ้าวัด ทรัพย์สินต่างๆ ตลอดจนบ้านและวัดได้ใช้ทุนทรัพย์ของทางสังฆมณฑลส่วนหนึ่ง และ
อีกส่วนหนึ่งจากความอุตสาหะของคุณพ่อแฮรี่ เมื่อบ้านพักเลขที่ 12 ถนนมะลิวัลย์ เสร็จสมบูรณ์ดีแล้ว คุณพ่อแฮรี่ ได้ปรึกษากับ พระสังฆราชดูฮาร์ท ได้เสนอให้ท่านส่งพระสงฆ์มาประจำในฐานะคุณพ่อเจ้าวัด ซึ่งพระคุณเจ้าก็เห็นดีด้วย
คุณพ่อเรย์เบรนแนนCssR.
คุณพ่อเรย์ มาถึงเมืองเลยเพื่อรับหน้าที่เจ้าวัดต่อจากคุณพ่อแฮรี่ ทีล ในวันที่ 10 ธันวาคม 1965 ต่อมา คุณพ่อแฮรี่ ทีลไปแพร่ธรรมกับชาวเขาเผ่ามัง ซึ่งอาศัยอยู่ทางด้านทิศตะวันตกคุณพ่อเรย์ เป็นเจ้าวัดอยู่ที่เมืองเลยตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 1965 ถึง 21 มีนาคม 1966 ในเวลานั้นมีครูคำสอน 7 คน อยู่ภายใต้การดูแลของท่านได้ร่วมกันแพร่ธรรมไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในช่วงนี้คุณพ่อได้โปรดศีลล้างบาปแก่ชาวบ้านราวร้อยคน และ ทางกิจการด้านอื่นๆ ก็มิได้ละเลย
คุณพ่อเรย์เบรนแนน ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ หลายโครงการเช่น โรงงานทอผ้าไหม ฟาร์มไก่ขนาดประมาณห้าพันตัว ปลูกสร้างอาคารสำหรับทอไหม ปลูกหม่อน ส่งผู้ดูแลโครงการไปรับการอบรมเพื่อกลับมาดูแลโครงการนี้ แต่ในที่สุดโครงการต่างๆ เหล่านี้ก็ประสบความล้มเหลว รวมทั้งผู้รับศีลล้างบาปใหม่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในชะตากรรมเดียวกันนี้ด้วย คือมีน้อยคนนักที่จะยังคงถือสัตย์ซื่อต่อศีลล้างบาปที่ตนได้รับ
คุณพ่อแฮรี่ ทีลCssR
ในเดือนมีนาคม 1969 คุณพ่อแฮรี่ ได้กลับมาเป็นเจ้าวัด แทนคุณพ่อเรย์ ในการกลับมาครั้งนี้ ท่านได้อพยพชาวเขาเผ่ามังที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเจริญชีวิตที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ซึ่งคุณพ่อ
เคยทำงานอยู่ก่อนมาด้วยจำนวน 18 ครอบครัว จากจุดนี้เองจึงทำให้มีชาวมังอาศัยอยู่ในจังหวัดเลยเรื่อยมา
คุณพ่อแฮรี่ได้เปลี่ยนโรงงานทอผ้าไหมเป็นโรงเรียนขนาด 4 ห้องเรียน และได้ใช้เวลาในช่วงเดือนสุดท้ายในสมัยของท่านช่วยครอบครัวชาวมังให้เริ่มการทำไร่ทำนาในพื้นที่บริเวณรอบๆ โรงเรียนและวัด
คุณพ่อฟรังซิส โกโตรCssR.
คุณพ่อโกโตร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคุณพ่อเจ้าวัดที่เมืองเลยในเดือนธันวาคมปี 1969 สมัยนี้ท่านได้เห็นการปิดตัวลงของโครงการต่างๆ ยกเว้นโรงเรียนซึ่งเจริญขึ้นเป็นลำดับต่อมาคุณพ่อโกโตร ได้เชิญซิสเตอร์จากท่าแร่มาดูแลซิสเตอร์มาถึงเมืองเลย ในวันที่ 13 พฤษภาคม 1971 ซึ่งเวลานั้นมีนักเรียนประมาณ 200 คน
เกี่ยวกับชื่อของวัดนั้น แต่เดิมใช้ชื่อ “วัดนักบุญอันเดรียน”และ ดูเหมือนจะได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่ในสมัยนี้โดยดูจากทะเบียนผู้รับศีลล้างบาป พบบันทึกชื่อเดิมของวัดถึงวันที่ 18 ตุลาคม 1980 และตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 1971 เป็นต้นมา ชื่อวัดได้รับการเปลี่ยนใหม่เป็น “วัดพระคริสตเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล”
คุณพ่อไพโรจน์ สมงาม CssR.
คุณพ่อไพโรจน์ สมงาม เดินทางมาถึงเมืองเลยเพื่อรับตำแหน่งเจ้าวัดในวันที่ 13 กันยายน 1971 เวลานั้นโรงเรียนเจริญขึ้นจนสามารถเพิ่งตนเองได้ด้วยจำนวนนัดเรียนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง การได้บ้านหลังใหม่ก็อยู่ในสมัยของท่านซึ่งตอนนั้นยังสร้างไม่เสร็จ ตั้งอยู่ใกล้ๆโรงเรียน คุณพ่อไพโรจน์ได้สร้างต่อจนเสร็จโดยอาศัยความช่วยเหลืออันเข้มแข็งของ “องสิงห์” ซึ่งพร้อมเสมอที่จะให้ความช่วยเหลือคุณพ่อเจ้าวัด.คุณพ่อเจ้าวัดได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังใหม่ในช่วงปีสุดท้ายในสมัยของท่าน และบ้านหลังนี้ได้กลายเป็นบ้านของคุณพ่อเจ้าวัดตั้งแต่นั้นเรื่อยมา
จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งอีกสิบปีต่อมา “ครูแจ้ง” บิดาของคุณพ่อไพโรจน์ ได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ในช่วงที่กำลังรับการศึกษาอบรมเพื่อเตรียมบวชเป็นสังฆานุกรตลอดชีพกลุ่มชาวมังก็ยังคงอยู่ที่นี่ โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งกำลังเรียนหนังสืออยู่ แต่ทว่าผู้ใหญ่ที่รับศีลล้างบาปแล้วนั้นมีลดจำนวนลง
คุณพ่อไมเคิลเชCssR.
คุณพ่อไมเคิลเช มารับหน้าที่เจ้าอาวาสต่อจากคุณพ่อไพโรจน์ในเดือนสิงหาคม 1976 ซึ่งในขณะเดียวกันก็ดูแลรับผิดชอบวัดที่บ้านท่าบ่มด้วยในสมัยของคุณพ่อเช นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายมากด้วยว่ามีปัญหาใหญ่ๆ สองประการที่ทำให้งานของท่านยุ่งยากเหลือเกิน คือ
1. ปัญหาเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นในพื้นที่แถบนี้ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาวได้สำเร็จ
2. ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาวทำให้มีผู้อพยพจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวมังในลาวทะลักเข้ามาจนทำให้ต้องเปิดศูนย์อพยพขึ้นที่บ้านวินัย อำเภอเชียงคาน
การให้ความช่วยเหลือผู้อพยพเรือนหมื่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีโครงการโคเออร์ โครงการนี้เพิ่งจะเริ่มปลายปี 1979 ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ คุณพ่อแลนด์ ได้เข้ามาทำหน้าที่พ่อเจ้าวัดแทนคุณพ่อเช นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ คณะธรรมทูตแห่งมาลีนิรมลเข้ามารับหน้าที่ต่อจากคณะพระมหาไถ่ในจังหวัดเลย
คุณพ่อแชล แลนด์ OMI.
คุณพ่อแลนด์มาถึงเมืองเลยในวันที่ 11 เมษายน1979 เพื่อฉลองสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ท่านได้ทำงานอย่างเข้มแข็ง ได้ปรับปรุงบ้านพักของคุณพ่อเจ้าวัด และปลูกต้นไม้จำนวนมาก ในสมัยของท่านได้แบ่งแยกงาน
การดูแลรับผิดชอบระหว่างวัดกับโรงเรียนออกจากกัน อย่างชัดเจนโดยให้ซิสเตอร์เป็นผู้ดูแลโรงเรียนในฐานะเจ้าของ และ ผู้จัดการ ต่อมาคุณพ่อแลนด์ได้สร้างวัดหลังเล็กๆ ในปี 1981 ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลายปีทีเดียวที่ต้องใช้วัดน้อยในบ้านซิสเตอร์เป็นที่ถวายมิสซาสำหรับสัตบุรุษ วัดหลังใหม่ที่คุณพ่อสร้างขึ้นอยู่ข้างๆ บ้านพักพ่อเจ้าวัด มีขนาดพอเหมาะกับจำนวนสัตบุรุษ และเครื่องตกแต่งวัดทั้งหมดได้สร้างขึ้นด้วยพระพรทางงานศิลปะของคุณพ่อ แลนด์ นอกจากนั้นเวลาอีกส่วนหนึ่งของคุณพ่อได้ถูกใช้ไปในการดูแลอภิบาลชาวอพยพที่ บ้านวินัย ซึ่งมีจำนวนมากถึงประมาณ 50,000 คน
คุณพ่อบรูโน อาเร็นส์OMI.
คุณพ่อบรูโน มาถึงเมืองเลยในเดือนพฤษภาคม 1983 ในทันทีภายหลังจากคุณพ่อแลนด์ล้มป่วยหนักและถูกส่งไปรักษาตัวที่ยุโรปเมื่อหายป่วยแล้ว คุณพ่อแลนด์ได้กลับมาพักอยู่กลับคุณพ่อบรูโนระยะหนึ่งก่อนที่คุณพ่อแลนด์จะขยับขยายไปแพร่ธรรมที่ อ. เชียงคาน ซึ่งเป็นการขยายงานแพร่ธรรมในจังหวัดเลย
คุณพ่อปีแอร์เชอวรูเลท์OMI.
คุณพ่อปีแอร์เชอวรูเลท์ เคยเป็นมิชชันนารีแพร่ธรรมอยู่วนลาวมาก่อนเช่นเดียวกับคุณพ่อแลนด์ ซึ่งได้มาประจำที่จังหวัดเลยอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ยังมี คุณพ่อเปรอนฟรังซัวOMI. อีกท่านหนึ่งที่ได้มาทำงานแพร่ธรรมที่จังหวัดเลยตั้งแต่เดือนเมษายน 1987 โดยเป็นคุณพ่อเจ้าวัดประจำอยู่ที่บ้านท่าบ่ม ซึ่งท่านยังจะทำงานอยู่ที่นี่ต่อไปโดยหวังว่า จะสามารถเพิ่มจำนวนคริสตชนให้มีมากขึ้นในจังหวัดเลย
คุณพ่อคริสเตียน ยีลส์OMI.
คุณพ่อยีลส์ ได้เดินทางมารับหน้าที่เจ้าวัดต่อจากคุณพ่อเชอวรูเลท์ ในเดือนตุลาคม 1991 นอกจากดูแลสัตบุรุษอย่างเข้มแข็งในเขตวัดแล้วท่านยังไปเยี่ยมเยียนกลุ่มคริสตชนที่ท่าลี่ ภูหลวง และ ภูกระดึงอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
สรุป
หลัง จาก 25 ปี ของงานแพร่ธรรมในจังหวัดเลย กิจการที่มองเห็นได้อย่างเด่นชัดโดยไม่มีข้อสงสัยเลยก็คือ โรงเรียน เป็นโรงเรียนประถมโดยมีแผนกอนุบาลรวมอยู่ด้วย ปัจจุบันมีนักเรียนเกือบพันคน ทั้งหญิงและชายโดยมีนักเรียนที่เป็นคาทอลิกเพียง 12 คน และที่กำลังเรียนคำสอนอยู่อีกราว 20 คน จำนวนคริสตังทั้งหมดประมาณ 70 คน มีเพียงไม่กี่ครอบครัวที่เป็นชาวเลยโดยกำเนิด นอกนั้นบ้างก็มาจากท่าบม บ้างก็มาจากอุดรฯ หรือไม่ก็กรุงเทพฯ เพื่อที่จะสามารถเห็นอนาคตที่สดใสของพระศาสนจักรในจังหวัดเลยเราจะต้องเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดีอย่างมากทีเดียว อย่างไรก็ตาม ตัวเมืองที่กำลังขยายอย่างรวดเร็วซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการปกครองและเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้ ก็ได้สร้างความหวังต่อการขยายตัวของกลุ่มคริสตังที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนี้ เช่นกัน
https://udondiocese.org/udondiocese/reg2-2/110-2#sigFreeId238f4bcd7c