1.วัดอัครเทวดาราฟาแอล ท่าบม

2.ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าบม ต. เขาแก้ว อ. เชียงคาน จ. เลย 42110

ขนาดพื้นที่: 3 rai (6 rai including the school area)

3.ประวัติ

   3.1 ความเป็นมา

บ้านท่าบมเป็นหมู่บ้านคริสตังเพียงแห่งเดียวในเขตจังหวัดเลย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ   45 กิโลเมตรตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ปัจจุบันมีประชากรประมาณ1,500 คน เป็นคริสต์ตัง(คาทอลิก) 210ครอบครัวและพุทธ130    ครอบครัว  บ้านท่าบมตั้งมาแล้วประมาณ   120 ปีหลังจากตั้งหมู่บ้านได้ประมาณ20 ปี ศาสนาคริสต์ก็เข้ามามีบทบาท โดยในช่วงนั้นมีครูคำสอนที่เป็นชาวเวียงคุก อยู่ที่บ้านนาค้อ อำเภอปากชม จังหวัดเลยได้ทราบข่าวว่าเกิดเรื่องไม่สงบขึ้นที่บ้านท่าบม คือมีเด็กเล็กๆ หลายคนตายชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเรื่องผี และกำลังแสวงหาที่พึ่งท่านจึงรีบมาดูแลเหตุการณ์ และได้พาชาวบ้าน คนไปเรียนคำสอนกับท่านที่ตำบลเวียงคุกอำเภอเมืองจ.หนองคายเมื่อชาวบ้านทั้4กลับมาก็มีพระสงฆ์ติดตามมาด้วย คือคุณพ่อฟีแนน  ยังเตคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส)MEP)ตอนนั้นยังไม่มีวัดคุณพ่อได้ใช้บ้านของพ่อเฒ่าอินเป็นที่ถวายมิสซา และพักอาศัย และคุณพ่อฟีแนน ยังเต นำไม้กางเขนไปปักไว้ที่ก้อนหินใหญ่ที่ชาวบ้านแต่เดิมเชื่อว่ามีผีสิง หลังจากนั้นความสงบสุขก็เริ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ชาวบ้านเองก็เริ่มเลื่อมใสศรัทธราศาสนาคริสต์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่เมื่อก่อนมีเพียง 5-6 ครอบครัว ได้กลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านไปนั้นมีผู้คนจากหมู่บ้านที่ห่างไกลอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่เรื่อย ๆ หมู่บ้านนี้จึงเริ่มขยายกว้างออกไปในระยะนั้นมี 20 หลังคาเรือนที่สมัครเข้าเป็นคริสต์ตังครูคำสอนคนแรกของหมู่บ้าน คือ ครูทวง เป็นชาวเวียงคุกต่อมาจึงมีครูคำสอนที่เป็นชาวบ้านท่าบมเอง คือ ครูดวง , ครูโสม, ครูตัน, ครูฤทธิ์, ครูบิน,ครูสุภาพ,ครูพิทยาและครูสุนันท์ส่วนปัจจุบันมีครูนงคราญและครูอาสาอดิศักดิ์
          
ต่อจากคุณพ่อฟีแนน ยังเต  มีพระสงฆ์ทยอยกันมาประจำที่หมู่บ้านนี้ เช่นคุณพ่อตีโบ (MEP) คุณพ่ออันโตนิโอ (MEP)คุณพ่ออัลแบร์ (MEP)และคุณพ่อคำเขียนเป็นคนที่ย้ายวัดจากบ้านของพ่อเฒ่าอินมาประจำอยู่ที่ศาลาประชาคม คุณพ่อคำเขียนมรณะที่นี่ ประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  (สงครามอินโดจีน)นับได้ราว 40 ปี ที่ศาสนาคริสต์เข้ามาในหมู่บ้าน สงครามโลกครั้งที่    2    จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เกิดสงครามโลกปี พ.. 2483 ศาสนาคริสต์ถูกเบียดเบียนข่มเหงมาก ทางราชการได้ส่งปลัดมาดและพรรคพวกมาบังคับให้ชาวบ้านทุกคนเลิกนับถือศาสนาคริสต์นอกจากนั้นยังทำลายรูปเคารพต่าง ๆ และท้ายสุดได้ปิดวัดคริสต์ทำเป็นโรงเรียนของรัฐบาล นำศาสนาพุทธเข้ามาเวลานั้นไม่มีพระสงฆ์ประจำอยู่ที่ท่าบมเลยความระส่ำระสายเริ่มขึ้นเมื่อรูปถูกทำลาย พระสงฆ์ก็ไม่มี วัดถูกเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นโรงเรียนชาวบ้านถูกบังคับและขู่เข็ญให้เข้าศาสนาพุทธ และกราบไหว้พระพุทธรูปแต่ถึงแม้พวกเขาจะถูกขู่เข็ญต่าง ๆ นานา แต่ความเชื่อและความศรัทธาภายในจิตใจของชาวบ้านยังมั่งคงอยู่และแข็งแกร่งอยู่ตลอดเวลา ชาวบ้านได้แต่สวดภาวนากันในใจเพราะถ้าหากว่าสวดภาวนากันอย่างเปิดเผยเมื่อใดก็จะถูกเจ้าหน้าที่จับเมื่อนั้นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น คือ นายสั้น เวลาไปประชุมที่อำเภอจะถูกเจ้าหน้าที่สอบถามเสมอสวดภาวนากันอยู่หรือเปล่า ท่านตอบว่าเลิกสวดแล้วถ้าไม่เชื่อก็ไปดูเอาเอง เจ้าหน้าที่ก็เชื่อตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้าน มีผู้เล่าในช่วงนั้นมีสิงห์สาราสัตว์มีงูใหญ่มากมาเข้ามรบกวนชาวบ้านทุกวัน บางครั้งก็เข้ามาพักพิงนอนในบ้านด้วยหลังจากที่ถูกเบียดเบียนอยู่ประมาณ   8   ปีคุณพ่อคาร  โสรินทร์จากมิสซังท่าแร่ เป็นคนแรกที่เข้ามาประจำที่นี่ (ปี .. 1950)       วันแรกที่ท่านมาถึงนั้นท่านแต่งตัวแบบทหารซ้ำยังขู่ชาวบ้านว่า ยังนับถือศาสนาคริสต์อยู่หรือเปล่า ชาวบ้านตกใจกลัวกันมาก แต่วันต่อมาเห็นสายประคำอยู่กับตัวท่านจึงพากันดีใจ คนที่ทิ้งศาสนาไปแล้วก็กลับมาอีก ที่ไม่กลับมาก็มีบ้าง ท่านทำให้ชาวบ้านมีความเชื่อ และศรัทธราต่อศาสนาคริสต์มากยิ่งขึ้น ท่านอยู่บ้านท่าบมไม่นานก็กลับไปท่าแร่ดังเดิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ (CssR.) ที่มาดูแลวัดที่บ้านท่าบมคือคุณพ่อเคน(ปีค.. 1951) 
         
ในสมัยของคุณพ่อเคน ท่านมาทำมิสซา 5-6 เดือนต่อครั้งเท่านั้น และพักอยู่กับชาวบ้านราว1-2 สัปดาห์แล้วจึงกลับไป ท่านทำเช่นนี้อยู่เป็นเวลาปี เวลาทำมิสซาก็ใช้ศาลากลางบ้านส่วนที่พักก็ใช้บ้านของพ่อเฒ่าล้วนหลังจากนั้น   คุณพ่อคลาเรนต์ดูฮาร์ด(ปี ค.. 1954) ได้เข้ามาอยู่ประจำท่านได้สร้างวัดให้แก่ชาวบ้านท่าบม และได้ตั้งชื่อว่าวัดราฟาแอล    สิ่งนี้นำความยินดีมาสู่ชาวบ้านท่าบมเป็นอย่างยิ่งศาสนาคริสต์

จึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างบ้านพักพระสงฆ์ไว้หลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนหลังปัจจุบันต่อมามีพระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ประจำ เช่นคุณพ่อมอริสี (ปี ค.. 1958)คุณพ่อวีรพงษ์วัชราทิตย์  และคุณพ่อแฮรี่  ทีล  (ปี ค.. 1964) ท่านได้สร้างโรงเรียนหลังปัจจุบันนี้ขึ้น ชื่อว่าโรงเรียนมารดาพิทักษ์วิทยา  นายสมัย  วงศ์อนันต์  เป็นผู้จัดการและครูใหญ่  วัตถุประสงค์ เพื่ออบรมลูกหลานชาวคริสตังทั้งหลาย

ในสมัยของคุณพ่อแฮรี่  ทีล  ได้นำชาวบ้านเดินสวดภาวนาตามถนนรอบวัดในช่วงเทศกาลปัสกา เพื่อระลึกถึงพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า นอกจากนั้นท่านยังได้ตั้งกลุ่มคณะพลมารีขึ้นอีกด้วยเมื่อคุณพ่อแฮรี่ย้ายไปคุณพ่อโทนี่ก็มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน (ปี ค.. 1996) ท่านได้พัฒนาด้านการศึกษาให้ดีขึ้น โดยเพิ่มเติมอุปกรณ์การเรียนการสอน การกีฬา ตลอดจนพัฒนาบริเวณสถานที่ให้กว้างใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และยังได้จัดตั้งกรรมการสภาวัดขึ้นเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มโรงสีแต่ก็ต้องล้มเลิกไป เพราะชาวบ้านทำไร่ทำนาไม่มีเวลามาดูแล ต่อมาก็ตั้งกลุ่มเลี้ยงวัว ซึ่งดำเนินกิจการมาถึงปัจจุบัน และได้จัดตั้งกลุ่มธนาคารข้าวนอกจากนี้ท่านยังได้นำไม้กางเขนไปปักไว้บนภูน้อย ซึ่งตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้าน ในช่วงเทศกาลปัสกาด้วย
              
พระสงฆ์องค์ต่อมา คือคุณพ่อมิลเลอร์(ปี ค.. 1979) ท่านได้สร้างบ้านพักพระสงฆ์หลังปัจจุบันขึ้น ยังได้ดูแลกิจการต่าง ๆของโรงเรียน และวัดเป็นอย่างดีตลอดมา ต่อจากนั้นเป็นพระสงฆ์ไทยคณะพระมหาไถ่ คือ คุณพ่อไพโรจน์  สมงาม(ปี ค..1974) ท่านได้สร้างหอระฆังวัดเพิ่มเติมอีกทั้งดูแลกิจการของโรงเรียนและวัดให้เจริญยิ่งขึ้น ประเพณีการไปสวดที่ภูน้อยก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม เมื่อท่านย้ายไปก็มีคุณพ่อไมเกิ้ล  เช มาดำรงตำแหน่งแทนในสมัยคุณพ่อเช (ปี ค.. 1976)  เป็นช่วงที่สาธารณรัประชาธิปไตยประชาชนลาว ถูกเวียดนามยึดครองชาวลาวได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก จึงเกิดมีศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยชาวลาวขึ้นตามแนวชายแดนไทย และที่อำเภอปากชม จังหวัดเลยที่แห่งนี้ ชื่อว่าบ้านวินัย ซึ่งในจำนวนนี้มีคาทอลิกอยู่ด้วยเมื่อคุณพ่อเชทราบท่านได้ไปเยี่ยมและทำมิสซาที่นั่นอาทิตย์ละครั้งเนื่องจากคนกลับใจเข้าศาสนามีมากวัดหลังเก่าไม่เพียงพอที่จะรับคนได้ทั้งหมด คุณพ่อจึงสร้างวัดหลังใหม่ให้ชาวบ้าน

ดังที่เราเห็นตั้งโดดเด่นสง่างามอยู่ในปัจจุบันนี้.

3.2 หตูการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ชาวบ้านได้ทำร่วมกันคือการเดินรูป14ภาคขึ้นบนภูน้อยในช่วงเทศกาลมหาพรตและมีการแห่ดาวรอบหมู่บ้านวันที่24ธันวาคมของทุกปี และมีการประดับดาวตามบ้านช่วงเทศกาลคริสมาสอย่างสวยงามและยังมีการสวดภาวนาขอฝนที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำมีในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมเพื่อขอฝนให้ได้มีน้ำในการทำเกษตกรรม และ ในเดือนตุลาคม ของทุกปีก้จะมีการสวดสายประคำตามหมู่บ้านหรือตามคุ้มต่างๆ และในเดือน พฤษจิกายน ก็ได้มีการทำมิสซาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับที่ ป่าศักดิ์สิทธิ์

    3.3 ลำดับเจ้าอาวาส

1.               คุณพ่อ ฟีแนน ยังเต

2.               คุณพ่อ ตีโบ

3.               คุณพ่อ อันโตนิโอ

4.               คุณพ่ออัลแบร์

5.               คุณพ่อ คำเขียน

6.               คุณพ่อคาร โสรินทร์

7.               คุณพ่อ เคน

8.               คุณพ่อ คลาเรนต์ ดูฮาร์ด

9.               คุณพ่อ มอริสี

10.            คุณพ่อ วีรพงษ์

11.            คุณพ่อ แฮร์ ทีล

12.            คุณพ่อ โทนี่

13.            คุณพ่อ มิลเลอร์

14.            คุณพ่อ ไมเกิ้ล เช

15.            คุณพ่อ เช

16.            คุณพ่อ มีแชล แลนด์

17.            คุณพ่อ ฟรังซัวร์ เปรอน

18.             คุณพ่อ บัวทอง

19.             คุณพ่อ ประสิทธิ์ ไกลโหล

20.             คุณพ่อ วิชัย อ้วนเย็นดี

21.             คุณพ่อ บรูโน

22.             คุณพ่อ ปรีชา ธรรมนิยม

23.             คุณพ่อ พลศรี ทองคำ

24.             คุณพ่อ ประสงค์ วงษ์วิบูรณ์สิน

25.             คุณพ่อ รามอน  เอนซินาเรส

26.            คุณพ่อดานีโอ อาโบกาโด, C.M.

 

       3.4 การกำเนิดองค์กรต่างๆคือ สภาวัด พลมารีย์ เยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวินเซนเดอปอนซึ่งตอนนี้ได้ยุบไปแล้ว

       3.5 ลูกวัดที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์

1.               sr. นุจรินทร์ บุดดา  คณะธิดาแม่พระอุปถัมภ์ (ซาเลเซียน)

2.               Sr. กุลธิดา แก้วอุดร  คณะแม่พระอุปถัมภ์ (ซาเลเซียน)

3.               Sr. วัชรา บุดดา  คณะธิดาเมตตาธรรม

4.               Sr. สร้อย มูลถวิลย์  คณะเซนต์ปอล์นเดอะชาร์ต

       3.6 จำนวนสัตบุรุษมีทั้งหมด: 1,500

4. ตารางมิสซา:วันจันทร์-เสาร์ 06:30น. วันอาทิตย์ จะเป็นเวลา 07:00น.

ปัจจุบัน เจ้าอาวาส : คุณพ่อดานีโอ อาโบกาโด, C.M.

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส : คุณพ่อรามอน เอนซีนาเรส, C.M.

แผนที่