1.     วัดแม่พระลูกประคำ เวียงคุก

2.     ที่อยู่119 / 1  ถ.แก้ววรวุฒิ ต.เวียงคุก  อ.เมือง จ.หนองคาย 4300

เบอร์โทรศัพท์042-438-095โทรสาร024-438-095

ขนาดพื้นที่          9  ไร่    2 งาน     6   ตารางวา

3.     ประวัติวัด

3.1       ความเป็นมา

จากประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรท้องถิ่นมิสซังลาว มีบันทึกไว้ว่า ในระหว่าง

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1894 คุณพ่อโปรดอม ได้มอบหมายให้คุณพ่อรองแดล

ไปตั้งกลุ่มคริสตขนใหม่ที่หนองคายและเวียงจันทน์ ดังนั้นคุณพ่อรองแดล จึงได้เริ่มงานของท่าน โดยส่งคุณพ่อ อาทานาซีโอ ผาย ซึ่งเป็นปลัดของท่านให้ล่วงหน้าไปก่อน เมื่อไปถึงหนองคาย คุณพ่ออาทานาซีโอ ได้ล้างบาปหญิงเจ็บหนักจวนจะตายคนหนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ.1894 ส่วนคุณพ่อรองแดล ได้เดินทางตามไปในต้นเดทอนมีนาคม ค.ศ. 1895 ท่านได้ซื้อที่เดินแปลงหนึ่ง และได้สร้างบ้านพักขึ้น ( ที่ดินปลงนั้นอยู่ติดกับริมโขง ปัจจุบันที่ดินได้พังทลาย เนื่องจากน้ำโขงเซาะตลิ่ง เหลือไว้เพียงความทรงจำที่เล่าต่อๆกันมาเท่านั้น )

          ในระหว่างที่คุณพ่อรองแดลอยู่ที่หนองคายนั้น มีชาวบ้านเวียงคุกคนหนึ่งชื่อ

พ่อตู้หลวงจันทร์เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะเคยได้ข่าวว่า “มีผู้มีบุญใส่ชุดขาว ผมยาวอยู่ที่เวียงจันทน์ และได้เดินทางมาถึงหนองคายแล้ว” ดังนั้นหลวงจันทร์จึง

เดินทางไปที่เมืองหนองคาย ได้พบกับคุณพ่อรองแดล ซึ่งกำลังสอนศาสนาคริสต์อยู่ จึงเข้าร่วมรับฟัง และเกิดความประทับใจในคำสอนที่ว่า “ศาสนาคริสต์ไม่กลัวผี

แต่ผีกลัว และสามารถปราบผีได้ทุกชนิด” ( เนื่องจากในสมัยนั้นผู้คนมีความกลัวผี

มาก และหาทุกวิถีทางที่จะได้เครื่องรางของขลังมาไว้เพื่อป้องกันตัว) หลวงจันทร์

ได้เชิญคุณพ่อรองแดลไปที่เวียงคุก เพื่อสอนคำสอนให้กับพี่น้องของตน ต่อมาครอบครัวของท่านได้รับศีลล้างบาป เป็นครอบครัวแรกในหมู่บ้านวียงคุก ท่านได้บริจาคที่ดินสำหรับสร้างวัด และบ้านพักของคุณพ่อเป็นการชั่วคราว

     เนื่องจากคริสตชนที่หนองคาย ถูกกลั่นแกล้งจากคนที่นับถือศาสนาต่างกัน

ทำให้งานแพร่ธรรมเต็มไปด้วยความยากลำบาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คุณพ่อรองแดล

และคุณพ่ออาทาซีโอ ผาย เกิดความท้อใจในการทำงานจึงเดินทางไปแพร่ธรรมที่อื่น เมื่อคุณพ่อโปดอมพร้อมกับคุณพ่อกองแตต์ เดินทางมาที่หนองคายจึงทราบปัญหานี้ จึงตัดสินใจย้ายกลุ่มคริสต์ชนจากหนองคายไปอยู่ที่เวียงคุก ในปีค.ศ

1896 คุณพ่อโปรดอมมอบหมายให้คุณพ่อกองแตต์ดูแล คริสตชนที่เวียงคุกซึ่งมีทั้งหมด 8 ครอบครัว อีก 1ปี ต่อมา มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 30 ครอบครัว นับได้ว่างานแพร่ธรรมที่เวียงคุก มีความเจริญก้าวหน้ามากที่เดียว

การเจริญเติบโตของกลุ่มคริสตชนที่เวียงคุก และเริ่มได้รับการเบียดเบียน

  ในสมัยคุณพ่อกองแตต์ เป็นเจ้าอาวาสที่เวียงคุกนั้น มีชาวบ้านที่อพยบมาจาก

ที่อื่น เช่น บ้านเผือ เมื่อมาอยู่ที่เวียงคุกแล้วมีความศรัทธาหันมานับถือศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น ต่อจากนั้น คุณพ่อและชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดหลังใหม่ขึ้น

เป็นการแยกวัดออกจากบ้านพักอย่างเป็นสัดส่วน ในปี ค.ศ.1899 มีการตั้งมิสซังใหม่ แยกออกจากมิสซังสยาม โดยถือเอาอาณาเขตทางภาคอีสานทั้งหมด และประเทศลาว ตั้งขึ้นเป็นมิสซังใหม่ให้ชื่อว่า “มิสซังลาว” โดยมีพระคุณเจ้า ยัง มารีย์

กืออาส เป็นพระสังฆราชองค์แรกปกครองมิสซังลาว พระคุณเจ้ากืออาสได้เลือกหนองแสง เป็นศูนย์กลางของมิสซังลาว ในปีเดียวกันนี้เองที่คุณพ่อกองเตตย์ถูกย้ายจากวัดเวียงคุก ไปเป็นอธิการเณรที่บ้านดอนโดน และคุณพ่อยังเตต์ พร้อมกับครูคำสอนชื่อ ทวง ถูกส่งมาประจำที่เวียงคุก

 ในปี ค.ศ. 1907 จำนวนคริสต์ชนที่เวียงคุก และวัดสาขาใกล้เคียง มีจำนวนถึง

276 คน และคริสต์ชนสำรองอีกประมาณ 200 คน นับว่าพระศาสนจักรทางเขต    เวียงคุกมีความเจริญเติบโตเป็นที่น่าพอใจ สมัยของคุณพ่อ ฟีแนน ยังเตต์  มีคนกลับใจมาก และศาสนาได้แพร่ไปถึงบ้านท่าบ่ม จ. เลย ในปี ค.ศ. 1918 คุณพ่อ

อันตน หนุน ธารา ซึ่งเป็นพระสงฆ์ไทยองค์แรกถูกส่งมาประจำที่เวียงคุก ในสมัยนี้มีเด็กหญิง 2 ท่าน คือ อักแนสพิลา ทิพย์สุขและลูชีอาคำบาง สีคำพอง

มีความปารถนาอยากเป็นภคินี จึงมาแจ้งให้คุณพ่อเจ้าอาวาสทราบ เมื่อคุณพ่อได้พิจารณาถึงความตั้งใจ ของเด็กทั้งสองแล้ว จึงส่งไปเข้าอารามรักกาวเขน ที่เชียงหวาง ประเทศลาว

เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนคริสตชนได้รับการเบียดเบียน  และยุคฟ้าหลังฝน และการฟื้นฟูใหม่

คุณพ่อองค์แรกที่เข้ามาเวียงคุก หลังจากเหตุการณ์เลวร้ายผ่านพ้นไปแล้ว

 คือคุณพ่อ คาน โสรินทร์ จากมิสซังท่าแร่หนองแสง ได้เริ่มฟื้นกันใหม่ เนื่องจากวัด

ถูกรื้อถอนไปแล้ว แต่เรือนครัวของคุณพ่อยังอยู่ในสภาพเดิม คุณพ่อ คาน จึงได้ถวายมิสซาที่เรือนครัว มีคริสตังจำนวนมากจนล้นออกมา นับเป็นนิมิตหมายอันดีว่า คริสตังยังมั่นคงในความเชื่ออยู่ ถึงแม้นจะมีคนออกจากศาสนาไปบ้างก็ตาม

คุณพ่อ คาน ได้เดินทางไปบ้านท่าบ่ม และวัดใกล้เคียง เพื่อเปิดวัดคาทอลิกเช่นกัน

        ในปี ค.ศ. 1948 คณะสงฆ์พระมหาไถ่ จากสหรัฐอเมริกา ได้เข้ามาในประเทศไทยครั้งแรก ได้มาดูแลวัดช้างมิ่งและวัดใกล้เคียง ต่อมาในปี ค.ศ. 1953 พื้นที่ 4 จังหวัดทางภาคอีสานเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วย หนองคาย เลย ขอนแก่น และอุดรธานี ถูกแยกออกจากมิสซังท่าแร่-หนองแสง ตั้งเป็นมิสซังใหม่เรียกว่า

“มิสซังอุดรธานี”  ทั้งนี้โดยให้อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของคณะสงฆ์พระมหาไถ่

โดยมีพระคุณเจ้าดูฮาร์ต ได้รับตำแหน่งเป็น”พระสังฆรักษ์” ประมุของค์แรก หลังจากได้แยกมิสซังแล้ว ยังได้สร้างศูนย์กลางขึ้น ต้องใช้วัดเวียงคุก เป็นศูนย์กลางชั่วคราว ในขณะนั้นกำลังหาซ้อที่ดินในเมืองอุดร และได้มาสร้างศูนย์กลางใหม่ที่บ้านจิก อุดรธานี

3.2   เหตุกราณ์สำคัญ

        ในขณะที่คระพระมหาไถ่มาประจำที่เวียงคุก ได้เริ่มสร้างวัดหลังใหม่ ซึ่งเป็นวัดหลังปัจจุบัน  โดยได้รับการออกแบบจากสถาปนิกที่กรุงเทพฯ และมีบราเดอร์

เควิน เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง และคริสต์ชนชาวเวียงคุกให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเป็นอย่างดี

   ในระหว่างที่กำลังก่อสร้างวัดใหม่ขึ้น ได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น คือดินที่ตลิ่งริมฝั่งโขง

ได้ถล่มลงมาทับนาย เพ็ง โคธิเสน ตายคาที่ และนายหนู ได้รับบาทเจ็บสาหัส

 เนื่องจากเขาเหล่านั้นไปขุดดินริมตลิ่งแม่น้ำโขงเจาะเป็นอุโมงค์เพื่อเอาดินมาถม

ในบริเวณที่กำลังก่อสร้าง แต่ดินได้ถล่มลงมาเป็นเหตุให้คนตายดังกล่าว  ส่วนนาย

เคยโครตชมพู ได้รับบาดเจ็บ เนื่องจากนั่งร้านหลุดลงมาทับเขา ไม่ว่าเป็นเพราะสาเหตุได การสร้างวัดหลังนี้ มีการพลีเลือดเนื้อ แม้นกระทั่งชีวิต อุทิศให้กับการสร้างวัดหลังนี้ เหมือนกับพระคริสตเจ้าที่ยอมสละชีวิตเพื่อก่อตั้งพระศาสนจักร

ของพระองค์บนโลกนี้  วัดหลังใหม่ สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1956  ตั้งชื่อว่า

วัดแม่พระลูกประคำ”

 3.3 ลำดับเจ้าอาวาส

นับตั้งแต่คุณพ่อกองเตต์ ได้นำคริสตังอพยบ จากหองคายมาตั้งหลักแหล่ง

ที่เวียงคุก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1696 เป็นต้นมา คริสตังได้มีคุณพ่ออยู่ใกล้ชิด เมื่อคุณพ่อ

กองเตต์ย้ายไปแล้ว คุณพ่อฟินแนน ยังเตต์ ถูกส่งมาดูแลแทน ในปี ค.ศ.1899

ต่อมาในปี ค.ศ. 1981 คุณพ่ออันตน หนุนได้เป็นเจ้าวัด และได้ส่งเด็กหญิง 2 คนไปเข้าอาราม ที่เชียงหวางประเทศลาว ในปี ค.ศ. 11931 คุณพ่อ อังแบรต์  ดง ได้เข้ามาเป็นเจ้าวัดองค์ต่อมา ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  คุณพ่อคำเขียน จากมิสซังท่าแร่-หนองแสง มาเป็นเจ้าวัด ท่านได้ขึ้นไปที่ท่าบ่ม จังหวัดเลย และได้ล้มป่วยลง และเสียชีวิตที่นั่น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง คุณพ่อ คาน  โสรินทร์ เข้ามาทำการเปิดวัดเริ่มปฎิบัติทางศาสนกิจใหม่ หลังจากที่ถูกห้ามในระหว่างสงครามโลก

           ในปี ค.ศ. 1948 เมื่อคระพระมหาไถ่เข้ามาในประทศไทยครั้งแรก ได้มาดูแลวัด

ช้างมิ่ง และวัดใกล้เคียง คุณพ่อ จอห์น ไดร์ จากคระพระมหาไถ่ ถูกส่งมาเป็นเจ้าวัดที่เวียงคุก ต่อจากพระสงฆ์มิสซังท่าแร่-หนองแสง ในปี ค.ศ. 1953 คุณพ่อดูฮาร์ต ได้มาเป็นเจ้าวัดทีเวียงคุก ในปีที่แยกมิสซังจากท่าแร่-หนองสง มาเป็นมิสซัง “อุดรธานี”

คุณพ่อดูฮาร์ตได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระสังฆรักษ์” ที่วัดแม่พระลูกประคำ บ้านเวียงคุก

ในปี ค.ศ. 1954 เมื่อพระคุณเจ้าดูฮาร์ตได้ย้ายสำนักไปอยู่ที่บ้านจิก อุดรธานีแล้ว มีคุณพ่อหลายองค์ที่สลับกันมาเป็นเจ้าวัด ดังรายนามต่อไปนี้....

       คุณพ่อวินแฟรด เลารี. คุณพ่อเคราตัน สมิธ. คุณพ่อโรเบิร์ทมาร์ติน.                                     คุณพ่อริชาร์ดธิรี่. คุณพ่อทอมกริฟฟิต. คุณพ่อเยรัลด์. คุณพ่อชาลส์ โกแตนท์.คุณพ่อ โรเบร์ทแวลส์ .คุณพ่อธวัส.คุณพ่อชาลส์ โกแตนท์มาเป็นเจ้าวัดอีกครั้งที่สอง คุณพ่อบรรจง ไชยรา.คุณพ่อปอลแมรี. คุณพ่อธงชัย สุวรรณวิทย์เวทย์. พระคุณเจ้าดูฮาร์ต

ได้กลับมาเป็นเจ้าวัดอีกครั้งหนึ่ง  จากนั้นเป็นคุณพ่อไมเกิลเช. คุณพ่อวิชัย อ้วนยินดี.

คุณพ่อ โกรโต . คุณพ่อไรท์.คุณพ่อไวยากรณ์ สุขสวัสดิ์ คุณพ่อ ปฏิญญา สิริธารารัตน์

คุณพ่อ จักรายุทธ์ปาละลี และคุณพ่อวัฒนา  ศรีวรกุล  เจ้าอาวาสปัจจุปัน

 

 3.4 การกำเนิดองค์กรต่างๆในวัด

โรงเรียนโรซารีโอวิทยา ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2502  โดยการอำนวยการของคณะพระมหาไถ่ประเทศไทย มีคุณพ่ออินที นารินรักษ์ ลงนามเป็นเจ้าของนายเสนอ ขาวดีเดช เป็นครูใหญ่ และผู้จัดการ เมื่อนายเสนอ ขาวดีเดช ลาออกจากตำแหน่ง จึงได้บรรจุนายจิต พลศรีราช เข้ารับตำแหน่งแทน  โรงเรียนโรซารีโอเปิดสอน

ครั้งแรก ตั้งแต่ระดับ ป.1 ถึง ป.4 ต่อมาวันที่ 24มิถุนายน พ.ศ. 2504 นายจิต พลศรีราช

ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงแต่งตั้งนายบัณฑิต จันทร์ลือชัย เข้ารับตำแหน่งแทน  และได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นถึง ป.7 แต่ในปี พ.ศ.2504นั้น มีนักเรียนแค่ชั้น ป.6 ดั้งนั้นจึงได้รับการโอนนักเรียนจากโรงเรียนครุราษฎร์รังสรรค์ มาเรียนในโรงเรียนโรซารีโอวิทยา

         เมื่อนายบัณฑิต จันทร์ลือชัยได้ลาออก  จึงได้บรรจุนายยามดี ยงบรรทม และแต่งตั้งนาย ดิเรก ภานุรักษ์ เป็นผู้จัดการ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2511 ขยายชั้นเรียนถึง

ม.ศ. 3 และในปี พ.ศ. 2523 ได้เปิดสอนระดับอนุบาลด้วย  การบริหารของโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนได้โอนเป็นของมูลนิคาทอลิกสงเคราะห์อุดรธานี โดยมีนายอภิชาต เนติประวัติ ลงนามแทนจากคุณพ่อ อินที นารินรักษ์

         ในปี พ.ศ. 2531 คณะภคิณีเซนต์ปอลเดอซาร์ตได้เข้ามาบริหารโรงเรียน

และได้เปลี่ยนผู้ลงนามเป็นเจ้าของจากนายอภิชาต เนติประวัติ มาเป็นนายดิเรก                      ภานุรักษ์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2531

 

 3.5 ลูกวัดที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์

  นักบวชชาย 1.คุณพ่อเล็ง  โคธิเสน ( เสียชีวิตแล้ว )

 2. คุณพ่ออินที    ใสสว่าง

 คณะพื้นเมือง  1.คุณพ่อ สมนึก  สุทธิ

2. คุณพ่อ รังสรรค์  ภานุรักษ์

  นักบวชหญิง   1.ซิสเตอร์ อักแนสพิลา  ทิพย์สุข (บุญราศี )

   2. ซิสเตอร์ ลูซีอา คำบาง  สีคำพอง ( บุญราศี )

   3. มาเซอร์แมรีเจมส์  ใสสว่าง

4. เซอร์แอมานูแอลยะงาม

 5. ซิสเตอร์ มัลลิกา   ปานมีศรี

  6. มาเซอร์ นอแบตา   ปานมีศรี

 3.6 จำนวนสัตบุรุษ60   ครอบครัว  ประมาณ  300  คน

 

 

4.     ตารางมิสซา จันทร์-ศุกร์     มิสซา  6.30 น

                         พุธ     นพวาร-มิสซา   19.00 น

                        อาทิตย์    มิสซา   8.30  น.

 

 

ปัจจุบัน : คุณพ่อไมเกิ้ล วัฒนา ศรีวรกุล, C.Ss.R. เป็นเจ้าอาวาส